พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สาลสูตร ว่าด้วยความเจริญ ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39107
อ่าน  482

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 90

ปฐมปัณณาสก์

สุมนวรรคที่ ๔

๑๐. สาลสูตร

ว่าด้วยความเจริญ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 90

๑๐. สาลสูตร

ว่าด้วยความเจริญ ๕ ประการ

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมวันต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยกิ่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 91

และใบ ๑ ย่อมเจริญด้วยเปลือก ๑ ย่อมเจริญด้วยกะเทาะ ๑ ย่อมเจริญด้วยกระพี้ ๑ ย่อมเจริญด้วยแก่น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัย ขุนเขาหิมวันต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้แล ฉันใด ชนภายในอาศัยเจ้าบ้าน ผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ฉันนั้น เหมือนกันแล ความเจริญ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ๑ ย่อมเจริญด้วยศีล ๑ ย่อมเจริญด้วยสุตะ ๑ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ๑ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยเจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้แล.

ต้นไม้ทั้งหลาย อาศัยบรรพตศิลา ล้วนในป่าใหญ่ ย่อมเจริญขึ้นเป็นไม้ใหญ่ ชั้นเจ้าป่า ฉันใด บุตร ภรรยา มิตร อำมาตย์ หมู่ญาติ และคนที่เข้าไปอาศัย เลี้ยงชีพทั้งหลายในโลกนี้ ได้อาศัยกุลบุตร ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล จึงเจริญได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ชนเหล่านั้น เห็นศีล จาคะ และสุจริตทั้งหลาย ของกุลบุตรผู้มีศีล จาคะ และสุจริตนั้น เมื่อประจักษ์ชัดแล้ว ย่อมประพฤติตามชนเหล่านั้น ครั้น ประพฤติธรรมอันเป็นที่ไปสู่สวรรค์ สุคติ ในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เพลิดเพลิน เพียบพร้อมด้วยกาม บันเทิงใจในเทวโลก.

จบสาลสูตรที่ ๑๐

จบสุมนวรรคที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 92

อรรถกถาสาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสาลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า มหาสาลา คือต้นไม้ใหญ่. บทว่า สาขาปตฺตปลาเสน วฑฺฒนฺติ คือเจริญด้วยกิ่งเล็กและใบ ที่เรียกกันว่า ปัตตะ. บทว่า อรญฺสฺมึ คือ ในที่มิใช่บ้าน. บทว่า พฺรหาวเน ได้แก่ ในป่าใหญ่ คือ ดง. บทที่ เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล. จบอรรถกถา สาลสูตรที่ ๑๐ จบสุมนวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุมนสูตร ๒. จุนทิสูตร ๓. อุคคหสูตร ๔. สีหสูตร ๕. ทานานิสังสสูตร ๖. กาลทานสูตร ๗. โภชนทานสูตร ๘. สัทธานิสังสสูตร ๙. ปุตตสูตร ๑๐. สาลสูตร และอรรถกถกา.