พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยทุลลภสูตร ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสําหรับผู้บวชเมื่อแก่

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39128
อ่าน  403

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 150

ทุติยปัณณาสก์

นีวรณวรรคที่ ๑

๑๐. ทุติยทุลลภสูตร

ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสําหรับผู้บวชเมื่อแก่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 150

๑๐. ทุติยทุลลภสูตร

ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสำหรับผู้บวชเมื่อแก่

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ หาได้ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ เป็นผู้ว่าง่ายหาได้ยาก เป็นผู้คงแก่เรียนหาได้ยาก เป็นผู้รับโอวาทด้วยความเคารพ หาได้ยาก เป็นธรรมกถึกหาได้ยาก เป็นวินัยธรหาได้ยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก.

จบทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 151

อรรถกถาทุติยทุลลภสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี แปลว่า ผู้รับโอวาทที่ท่านให้แล้ว โดยข้างเบื้องขวา (โดยความเคารพ). คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวรณสูตร ๒. ราสิสูตร ๓. อังคสูตร ๔. สมยสูตร ๕. มาตุปุตติกสูตร ๖. อุปัชฌายสูตร ๗. ฐานสูตร ๘. กุมารลิจฉวีสูตร ๙. ปฐมทุลลภสูตร ๑๐. ทุติยทุลลภสูตร และอรรถกถา.