พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39131
อ่าน  393

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 153

ทุติยปัณณาสก์

สัญญาวรรคที่ ๒

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 153

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่า เป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล ย่อมเจริญด้วยสุตะ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรม เป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วยธรรม เป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่า เป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 154

อริยสาวกผู้ใดย่อมเจริญ ด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้งสองฝ่าย อริยสาวกผู้เช่นนั้น เป็นสัปบุรุษ มีปรีชา เห็นประจักษ์ ชื่อว่า ย่อมยึดถือสาระแห่ง ตน ในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.

จบปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วราทายี คือ เป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุด. คำที่เหลือ ในสูตรนี้และสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถา ปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓