๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร ว่าด้วยธรรมที่อํานวยผลให้เป็นอริยบุคคล
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 157
ทุติยปัณณาสก์
สัญญาวรรคที่ ๒
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่อํานวยผลให้เป็นอริยบุคคล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 157
๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร
ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้เป็นอริยบุคคล
[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันนี้เทียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาท ที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญวิริยะอย่างยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 158
เป็นที่ห้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญ ย่อมทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวังได้ผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันนี้เทียว.
จบปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗
อรรถกถาปฐมอิทธิปาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุสฺโสฬฺหึ แปลว่า ความเพียรมีประมาณยิ่ง.
จบอรรถกถา ปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗