พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยโยธาชีวสูตร ว่าด้วยนักรบและภิกษุ ๕ พวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39146
อ่าน  415

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 180

ทุติยปัณณาสก์

โยธาชีววรรคที่ ๓

๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

ว่าด้วยนักรบและภิกษุ ๕ พวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 180

๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

ว่าด้วยนักรบและภิกษุ ๕ พวก

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบ ในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมา ส่งไปถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียในระหว่างทาง นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมา ส่งไปถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ได้ทำกาละด้วยอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น นักรบอาชีพ จำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้น พยายามรบในสนามรบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 181

นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมา ส่งไปถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้หายจากอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้าน หรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตร และจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ในบ้าน หรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ราคะย่อมขจัดจิตของเธอ เธอมีจิตอันราคะขจัดแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล เสพเมถุนธรรม นักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึก ย่อมฆ่าเขาตาย ทำลายเขาได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตร และจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้าน หรือนิคมนั้น เพื่อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 182

บิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ราคะย่อมขจัดจิตของเธอ เธอมีจิตอันราคะขจัดแล้ว ย่อมเร่าร้อนกาย เร่าร้อนจิต เธอจึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราควรไปอารามนอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์สืบต่อไปได้ จักทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอกำลังเดินไปอาราม ยังไม่ทันถึงอาราม ก็ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ในระหว่างทางนักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบ ในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมา ส่งไปถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียใน ระหว่างทาง แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้าน หรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตร และจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ... บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอไปสู่อารามบอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ... บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์ จึงกล่าวสอน พร่ำสอน เธอว่าอาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 183

ตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยดาบ และของมีคม มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยหอกและหลาว มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านผู้มีอายุ จงยินดียิ่งในพรหมจรรย์ จงอย่าทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธออันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่ อย่างนี้ว่า อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ก็จริง แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถ ประพฤติพรหมจรรย์ สืบต่อไปได้ จักทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ นักรบนั้น ถือดาบและโล่ ฯลฯ เขาอันหมู่ญาติ พยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้ตายเพราะอาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้าน หรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตร และจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้าน หรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ... บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เพื่อไปอาราม บอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ... บอกคืนสิกขา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 184

เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก ... เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ... เปรียบด้วยคบเพลิง ... เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ... เปรียบด้วยความฝัน ... เปรียบด้วยของขอยืม ... เปรียบด้วยผลไม้ ... เปรียบด้วยดาบและของมีคม ... เปรียบด้วยหอกและหลาว ... เปรียบด้วยหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านผู้มีอายุจงยินดียิ่ง ในพรหมจรรย์ จงอย่าทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธออันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึง กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าจักขะมักเขม้น จักทรงไว้ จักยินดียิ่ง จักไม่กระทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ณ บัดนี้ นักรบนั้น ถือดาบและโล่ ... เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้หายจากอาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้าน หรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตร และจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้น เพื่อบิณฑบาต รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่นสำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรม อันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 185

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย ฯลฯ เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้า หมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นักรบอาชีพนั้น ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว เข้าสนามรบ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

จบทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 186

อรรถกถาทุติยโยธาชีวสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อสิจฺมฺมํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือดาบและโล่ห์. บทว่า ธนุกลาปํ สนฺนยฺหิตฺวา ได้แก่ สอดธนูและแล่งธนู. บทว่า วิยุฬฺหํ ได้แก่ ตั้งอยู่ โดยการเผชิญหน้าพร้อมรบ [ประชิด]. บทว่า สงฺคามํ โอตรติ ได้แก่ เข้ารบใหญ่. บทว่า อุสฺสหติ วายมติ ได้แก่ ทำความอุตสาหะพยายาม. บทว่า หนนฺติ แปลว่า ฆ่า บทว่า ปริยาเทนฺติ ได้แก่ ยื้อยุด. บทว่า อุปลิกฺขนฺติ ได้แก่ แทง. บทว่า อปเนนฺติ ได้แก่ พาทหารฝ่ายตนไป. บทว่า อปเนตฺวา ณาตกานํ เนนฺติ ได้แก่ นำทหารฝ่ายตนไปส่งให้ญาติ. บทว่า นียมาโน ได้แก่ นำไปสู่เรือนตน หรือสำนักญาติที่เหลือ. บทว่า อุปฏหนฺติ ปริจรนฺติ ได้แก่ กระทำความสะอาดเครื่องประหาร และสมานแผลเป็นต้น บำรุงคุ้มครอง.

บทว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน ได้แก่ มีกายทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อรกฺขิตาย วาจาย ได้แก่ มีวจีทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อรกฺขิเตน จิตฺเตน ได้แก่ มีมโนทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อนุปฏฺิตาย สติยา ได้แก่ ไม่ทำสติให้ตั้งด้วยดี. บทว่า อสํวุเตหิ อินฺทฺริเยหิ ได้แก่ มีอินทรีย์ที่มีใจเป็นที่ ๖ อันมิได้ระวังมิได้คุ้มครองแล้ว. บทว่า ราโค จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ได้แก่ ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดจิตในสมถะและวิปัสสนา คือ เหวี่ยงไปเสียไกล.

บทว่า ราคายิโตมฺหิ อาวุโส ราคปเรโต ความว่า ผู้มีอายุ ผมถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะตามถึงแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 187

ในบทว่า อฏฺิกงฺกสูปมา เป็นต้น กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนกระดูก เพราะอรรถว่า มีความอร่อยน้อย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า ทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า ตามเผาผลาญ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ทำความเร่าร้อนมาก เปรียบเหมือนความฝัน เพราะอรรถว่า ปรากฏขึ้นนิดหน่อย เปรียบเหมือนของยืมเขามา เพราะอรรถว่า อยู่ได้ชั่วคราว เปรียบเหมือนผลไม้ เพราะอรรถว่า การหักหมดทั้งต้น เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นที่รองมีดสับ เปรียบเหมือนปลายหอก เพราะอรรถว่า ทิ่มแทง เปรียบเหมือนหัวงู เพราะอรรถว่า น่าสงสัยน่ามีภัย.

บทว่า อุสฺสทิสฺสามิ ได้แก่ จักทำอุตสาหะ. บทว่า ธารยิสฺสามิ ได้แก่ จักทรงความเป็นสมณะไว้. บทว่า อภิรมิสฺสามิ ได้แก่ จักทำความยินดียิ่ง [ในพรหมจรรย์] ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า จักไม่กระสันสึก. คำที่เหลือ ในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะ ทั้งวิวัฏฏะ แล.

จบอรรถกถา ทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖