๘. ทุติยอนาคตสูตร ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 190
ทุติยปัณณาสก์
โยธาชีววรรคที่ ๓
๘. ทุติยอนาคตสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 190
๘. ทุติยอนาคตสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ก็ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 191
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึงกระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนทีเดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้เป็นผู้ชราก็จักอยู่สบาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ สำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิ จะถูกต้องกายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้ อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ ก็จักอยู่สบาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคต ข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ในสมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ ที่มีอาหารดี ในที่นั้น ย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 192
ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบาย แม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล มนุษย์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วน ในดงประชาชนวุ่นวาย และเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไป ในที่ซึ่งปลอดภัย ในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบาย แม้ในสมัยที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ...
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล สงฆ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก แต่ก็ย่อมมีสมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบาย แม้ในเมื่อสงฆ์แตกกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 193
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควร เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.
จบทุติยอนาคตสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยอนาคตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยอนาคตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุรา มํ โส ธมฺโม อาคจฺฉติ ความว่า ธรรมนั้นยังไม่มาถึงเราเพียงใด เราก็จะเริ่มความเพียรก่อนเพียงนั้น. บทว่า ขีโรทกีภูตา ได้แก่ ถึงความเป็นอันเดียวกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ. บทว่า ปิยจกฺขูหิ ได้แก่ ด้วยดวงตาที่เต็มไปด้วยเมตตา.
จบอรรถกถา ทุติยอนาคตสูตรที่ ๘