พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. รัชนียสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39151
อ่าน  385

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 201

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๑. รัชนียสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 201

เถรวรรคที่ ๔

๑. รัชนียสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมกำหนัด ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑ ย่อมขัดเคือง ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๑ ย่อมหลง ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ย่อมโกรธ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ๑ ย่อมมัวเมา ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมไม่กำหนัด ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑ ย่อมไม่ขัดเคือง ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๑ ย่อมไม่หลง ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ย่อมไม่โกรธ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ๑ ย่อมไม่มัวเมา ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบรัชนียสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 202

เถรวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถารัชนียสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในรัชนียสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รชนีเยสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมราคะ. แม้ในบทที่เหลือ ก็ในนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถา รัชนียสูตรที่ ๑