พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วีตราคสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39152
อ่าน  372

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 202

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๒. วีตราคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 202

๒. วีตราคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง ของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ๑ เป็นผู้ไม่ปราศจากความขัดเคือง ๑ เป็นผู้ไม่ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ตีเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 203

เป็นผู้ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ไม่ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ไม่ตีเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบวีตราคสูตรที่ ๒

อรรถกถาวีตราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในวีตราคสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺขี ได้แก่ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน. บทว่า ปฬาสิ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยการตีเสมอ มีการแข่งขันกันเป็นลักษณะ.

จบอรรถกถา วีตราคสูตรที่ ๒