พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยเสขสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39160
อ่าน  394

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 214

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๑๐. ทุติยเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 214

๑๐. ทุติยเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก ไม่ฉลาดในกิจน้อย กิจใหญ่ ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมปล่อยให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไป เพื่อความเสื่อม แก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมเข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก กลับมาในเวลาสายนัก ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมไม่เป็นผู้ได้ตามปรารถนา เป็นผู้ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ซึ่งกถาที่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรม เครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 215

วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีกิจมาก ไม่มีกรณียะมาก ฉลาดในกิจน้อยกิจใหญ่ ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมไม่ปล่อยให้วันเวลาล่วงไป เพราะการงานเล็กน้อย ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะ ย่อมไม่เข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับในเวลาสายนัก ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 216

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรม เครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบทุติยเสขสูตรที่ ๑๐

จบเถรวรรคที่ ๔

อรรถกถาทุติยเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยเสขสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิยตฺโต ได้แก่ ผู้สามารถคือฉลาด. บทว่า กึกรณีเยสุ ได้แก่ ในกิจที่ควรทำอย่างนี้. บทว่า เจโตสมถํ ได้แก่ สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า อนนุโลมิเกน ได้แก่ อันไม่สมควรแก่ศาสนา. บทว่า อติกาเลน ได้แก่ เช้าเกินไป. บทว่า อติทิวา ได้แก่ เลยเวลาเที่ยงที่เรียกว่า กลางวันไปแล้ว. บทว่า อภิสลฺเลขิกา ได้แก่ เป็นข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสเหลือเกิน. บทว่า เจโตวิววรณสปฺปายา ได้แก่ เป็นสัปปายะแก่สมถะและวิปัสสนา กล่าวคือ ธรรมเครื่องเปิดใจ. บทว่า อปฺปิจฺฉกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้มักน้อย. บทว่า สนฺตุฏฺิกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย ๔. บทว่า ปวิเวกกถา ได้แก่ ถ้อยคำ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 217

ที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้สงัดด้วยวิเวก ๓. บทว่า อสํสคฺคกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่คลุกคลี ด้วยความคลุกคลี ๕ อย่าง. บทว่า วิริยารมฺภกถา ได้แก่ ถ้อยคำ ที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายปรารภความเพียร ๒ อย่าง. ในบทว่า สีลกถา เป็นต้น ได้แก่ ถ้อยคำปรารภศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ๕ อย่าง กถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนะ กล่าวคือ ปัจจเวกขณะ ๑๙ ชื่อวิมุตติญาณทัสสนกถา. ในบทเป็นต้นว่า น นิกามลาภี ความว่า ไม่ได้ตามที่ตนปรารถนา ได้โดยลำบาก ได้ไม่ไพบูลย์. บทที่เหลือง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถา ทุติยเสขสูตรที่ ๑๐

จบเถรวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รัชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร ๓. กุหกสูตร ๔. อสัทธสูตร ๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาสูตร ๗. สีลสูตร ๘. เถรสูตร ๙. ปฐมเสขสูตร ๑๐. ทุติยเสขสูตร และอรรถกถา.