พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. พยากรณสูตร ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39163
อ่าน  417

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 219

ทุติยปัณณาสก์

กกุธวรรคที่ ๕

๓. พยากรณสูตร

ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 219

๓. พยากรณสูตร

ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะความเป็นผู้หลง ๑ บุคคลผู้มีความอิจฉาลามก ผู้ถูกความอิจฉาครอบงำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 220

ย่อมพยากรณ์อรหัต ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความบ้า เพราะจิต ฟุ้งซ่าน ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัตโดยถูกต้อง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้แล.

จบพยากรณสูตรที่ ๓

อรรถกถาพยากรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในพยากรณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อญฺพฺยากรณานิ ได้แก่ การพยากรณ์พระอรหัต. บทว่า มนฺทตฺตา ได้แก่ เพราะความโง่ เพราะไม่รู้. บทว่า โมมูหตฺตา ได้แก่ เพราะความลุ่มหลง. บทว่า อญฺํ พฺยากโรติ ความว่า เขาพูดว่า เราบรรลุอรหัต. บทว่า อิจฺฉาปกโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า อธิมาเนน ได้แก่ ด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ. บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ โดยนัย โดยการณ์เท่านั้น.

จบอรรถกถา พยากรณสูตรที่ ๓