พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สุตสูตร ว่าด้วยธรรมทําให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39166
อ่าน  388

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 223

ทุติยปัณณาสก์

กกุธวรรคที่ ๕

๖. สุตสูตร

ว่าด้วยธรรมทําให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 223

๖. สุตสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรม ที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก.

จบสุตสูตรที่ ๖

อรรถกถาสุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในสุตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปฏฺโ ได้แก่ เป็นผู้ปรารภถึงการงานน้อย. บทว่า อปฺปกิจฺโจ ได้แก่ เป็นผู้มีกิจจะต้องทำน้อย. บทว่า สุภโร ได้แก่ เป็นคน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 224

ดี คือ เลี้ยงได้ง่าย. บทว่า สุสนฺโตโส ได้แก่ เป็นผู้สันโดษด้วยดี ด้วยสันโดษ ๓. บทว่า ชีวิตปริกฺชาเรสุ ได้แก่ ในสิ่งที่จำเป็นแก่ชีวิต. บทว่า อปฺปาหาโร ได้แก่ เป็นผู้มีอาหารน้อย. บทว่า อโนทริกตฺตํ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากท้อง คือกินไม่มาก. บทว่า อปฺปมิทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ไม่หลับมาก.

จบอรรถกถา สุตสูตรที่ ๖