พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กกุธสูตร ว่าด้วยศาสดา ๕ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39170
อ่าน  512

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 227

ทุติยปัณณาสก์

กกุธวรรคที่ ๕

๑๐. กกุธสูตร

ว่าด้วยศาสดา ๕ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 227

๑๐. กกุธสูตร

ว่าด้วยศาสดา ๕ จำพวก

[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่า กกุธะ ผู้อุปัฏฐากท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่า อโนมยะ หมู่หนึ่งเป็นผู้ได้อัตตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ครั้งนั้นแล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารภอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท ครั้นกกุธเทพบุตรได้ กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทำประทักษิณแล้วหายไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 228

ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรแห่งเจ้าโกลิยะนามว่า กกุธะ ผู้อุปัฏฐากข้าพระองค์ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่า อโนมยะหมู่หนึ่ง เป็นผู้ได้อัตตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะการได้อัตตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท กกุธเทพบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทข้าพระองค์ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็กกุธเทพบุตร เธอกำหนดรู้ใจด้วยใจดีแล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวง ย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุธเทพบุตรข้าพระองค์กำหนดรู้ใจ ด้วยใจดีแล้วว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวง ย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น.

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้น จักทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ

ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 229

ทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราจักบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจะปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา เช่นนี้ โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยศีล.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยอาชีวะ และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยอาชีวะ.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนา ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่าน าสดานี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 230

พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้น อย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ท่านศาสดานี้ จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยธรรมเทศนา และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการรักษา จากสาวกโดยธรรมเทศนา.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจักกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้น อย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยไวยากรณ์ และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวก โดยไวยากรณ์.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าว ด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 231

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ โดยญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวก โดยญาณทัสสนะ ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ ในโลก.

ดูก่อนโมคคัลลานะ เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวัง เฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยศีล เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยอาชีวะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยอาชีวะ เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยธรรมเทศนา เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของ เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยไวยากรณ์ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยไวยากรณ์ เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะ ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดย ญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษา จากพวกสาวกโดยญาณทัสสนะ.

จบกกุธสูตรที่ ๑๐

จบกกุธวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 232

อรรถกถากกุธสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในกกุธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตภาวปฏิลาโภ คือ ได้ร่างกาย. ในบทว่า เทฺว วา ตีณิ วา มาคธิกานิ คามกฺเขตฺตานิ นี้ เขตหมู่บ้านชาวมคธมีขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก แต่นี้ไป ๔๐ อสุภะ จากโน้นมา ๔๐ อุสภะ รวมเป็นหนึ่งคาวุต ขนาดกลาง แต่นี้ไปหนึ่งคาวุต จากโน้นมาหนึ่งคาวุต รวมเป็นกึ่งโยชน์ ขนาดใหญ่ แต่นี้ไปคาวุตครึ่ง จากโน้นมาคาวุตครึ่ง รวมเป็นสามคาวุต. ในเขตหมู่บ้านเหล่านั้น เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก ก็ ๓ เขต เขตหมู่บ้านขนาดกลางก็ ๒ เขต เป็นขนาดอัตตภาพของเทพบุตรนั้น ดังนั้น เทพบุตรนั้นจึงมีร่างกายขนาด ๓ คาวุต.

บทว่า ปริหริสฺสามิ ได้แก่ เราจักบำรุงคุ้มครอง. บทว่า รกฺขสฺเสตํ ได้แก่ เธอจงรักษาวาจานั้น. บทว่า โมฆปุริโส ได้แก่ เป็นคนเปล่าๆ. บทว่า นาสฺสสฺส ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน. บทว่า สมุทาจเรยฺยาม ได้แก่ พึงกล่าว. บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ ทำการยกย่อง. บทว่า ยํ ตุโม กริสฺสติ ตุโมว เตน ปญฺายิสฺสติ ความว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถา กกุธสูตรที่ ๑๐

จบกกุธวรรควรรณนาที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมปทาสูตร ๒. ทุติยสัมปทาสูตร ๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุสูตร ๕. อกุปปสูตร ๖. สุตสูตร ๗. กถาสูตร ๘. อรัญญสูตร ๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธสูตร และอรรถกถา.