พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เวสารัชชกรณสูตร ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ต.ค. 2564
หมายเลข  39171
อ่าน  431

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 233

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๑. เวสารัชชกรณสูตร

ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 233

๑. เวสารัชชกรณสูตร

ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า ๕ ประการ

[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทํา ความเป็นผู้แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทําความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ทุศีล ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศีล ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทําความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่เป็นพหูสูต ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทําความเป็นผู้แกล้ากล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทําความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่องกระทําความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทํา ความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล

จบเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 ต.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 234

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาเวสารัชชกรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑ แห่งตติยปัณณาสก์ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวสารชฺชกรณา ได้แก่ เครื่องนํามาซึ่งความแกล้วกล้า. บทว่า สารชฺชํ โหติ ความว่า ย่อมมีโทมนัส

จบอรรถกถา เวสารัชชกรณสูตรที่ ๑