๒. สังกิตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทําให้เป็นที่น่ารังเกียจ
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 234
ตติยปัณณาสก์
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑
๒. สังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทําให้เป็นที่น่ารังเกียจ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 234
๒. สังกิตสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ
[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่า เป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหาภิกษุณี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม.
จบสังกิตสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 235
อรรถกถาสังกิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสังกิตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุสฺสงฺกิตปริสงฺกิโต ได้แก่ ถูกระแวง และถูกสงสัย. บทว่า อปิ อกุปฺปธมฺโม ความว่า ถึงจะเป็นพระขีณาสพ ผู้มีธรรมไม่กำเริบก็จริง ย่อมจะถูกภิกษุชั่วเหล่าอื่นระแวงสงสัยได้.
พวกหญิงที่อาศัยรูปร่างเลี้ยงชีพ ท่านเรียกว่า เวสิยา (หญิงแพศยา) ในบทว่า เวสิยโคจโร เป็นต้น หญิงเหล่านั้น เป็นโคจรของภิกษุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีหญิงแพศยาเป็นโคจร อธิบายว่า ไปเรือนของหญิงเหล่านั้นเนืองๆ. ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธวา ได้แก่ หญิงผัวตาย. บทว่า ถุลฺลกุมารี ได้แก่ นางสาวแก่.
จบอรรถกถา สังกิตสูตรที่ ๒