พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. โจรสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39173
อ่าน  379

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 235

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๓. โจรสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 235

๓. โจรสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมทำการปล้น เฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 236

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่งหญ้าบ้าง ที่รกชัฏแห่งต้นไม้บ้าง ฝั่งแม่น้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชา หรือมหาอำมาตย์ แห่งพระราชาเหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา พระราชา หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น ก็ช่วยว่าความให้แก่เขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล ก็มหาโจรย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหา เรื่องบางอย่างกะเรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหา เรื่องบางอย่างกะเขา เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า เรื่องลับของเรา อย่าได้แพร่งพรายไปภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว อย่างนี้แล มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง. ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 237

จะพึงติเตียน และย่อมประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่สม่ำเสมอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรม ที่ไม่สม่ำเสมออย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชา หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ พระราชา หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัย คนมีกำลังอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหา เรื่องบางอย่างกะเรา เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่าง กะเธอ เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ บาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 238

สกุล (บ้านญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน และประสบบาปเป็นอันมาก.

จบโจรสูตรที่ ๓

อรรถกถาโจรสูตร

พึงทราบวินิจฉัย โจรสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิโต โภเคน ปฏิสนฺถริสฺสามิ ความว่า เราจักถือเอาโภคะ จากสมบัติของเรานี้ ทำปฏิสันถารปกปิดด้วยโภคะนั้น อธิบายว่า จักปิดช่องระหว่างเขาและเรา. บทว่า นิคฺคหณานิ ได้แก่ การถือเอาของของผู้อื่น. บทว่า คุยฺหมนฺตา ได้แก่ มนต์ที่ต้องปกปิด. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ความว่า ยึดถือสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา โจรสูตรที่ ๓