พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สีลสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39177
อ่าน  409

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 245

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 245

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบสีลสูตรที่ ๗

อรรถกถาสีลสูตร

สีลสูตรที่ ๗ ตรัสศีล สมาธิ และปัญญาเจือกัน. วิมุตติ คือ อรหัตตผล วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ปัจจเวกขณเป็นโลกิยะอย่างเดียว.

จบอรรถกถา สีลสูตรที่ ๗