กาย เวทนา จิต ธรรม

 
WS202398
วันที่  6 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3920
อ่าน  2,846

จาก //www.dhammahome.com/webboard/topic/3819

การเจริญสติปัฎฐาน ใน กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาทั้งภายใน ภายนอก และภายในภายนอก การพิจารณาภายในผมพอจะเข้าใจ แต่ในส่วนที่เป็นภายนอกนั้นจะพิจารณาได้ในลักษณะเช่นใดถ้าจะกล่าวว่า รูป=กาย เวทนา=เวทนา จิต=สัญญา+สังขาร+วิญญาณ ธรรม=ธรรม โดยในสติปัฎฐานถูกต้องหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

การพิจารณาเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ภายในคือ ในตัวเอง ถ้าเป็นภายนอกหมายถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ของผู้อื่น ซึ่งจะรู้ได้ตามสมควรแก่ฐานะ ไม่ใช่ทุกคนจะรู้ของบุคคลอื่นคือ รู้กาย เวทนา จิต ธรรม ของผู้อื่นเมื่อลักษณะนั้นๆ กำลังปรากฏให้รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือ สภาพธรรมที่ปรากฎทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่พ้นไปจากนี้ เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดขึ้น ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ตรงตามความเป็นจริง ไม่มีชื่อ ไม่มีหมวดหมู่ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่สภาวลักษณะปรากฎให้สติระลึกรู้ได้เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เริ่มต้นก่อนว่า การคิดพิจารณา ขั้นคิดนึกมิใช่สติปัฏฐาน เพราะเหตุใด

เพราะขณะที่คิดพิจารณา ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะ (ปรมัตถธรรม) แต่ขณะนั้น คิดเป็นเรื่องราว (มีบัญญัติเป็นอารมณ์) ซึ่งขณะนั้นก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธัมมะที่เกิดขึ้นว่า เป็นธรรมตรงลักษณะของเขา เช่น ขณะที่คิดพิจารณว่ากายในกายว่า เส้นผมไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรม ขณะที่คิดอย่างนั้น ก็ยังเป็นผมอยู่นั่นแหละ ยังไม่ได้รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพของผมว่า มีธรรม คือ อ่อนหรือเย็น ร้อน ซึ่งเป็นลักษณะปรมัตถธรรมจริงๆ เป็นธรรมจริงๆ ครับ หรือถึงแม้คิดว่า แข็งเป็นธรรม ขณะที่คิดนึกอย่างนั้นก็ไม่ได้รู้ลักษณะอ่อนหรือแข็ง ขณะที่เกิดจริงๆ ว่าเป็นธรรม โดยไม่ใช่ขั้นคิดนึก ดังนั้น ขอให้เริ่มก่อนว่า สติขั้นคิดนึกไม่ใช่สติปัฏฐาน

เรื่อง กายภายใน และ กายภายนอก

ที่ทรงแสดงว่ามีทั้งภายในและภายนอก เพราะเราไม่ได้ยึดถือด้วยความเป็นเราเฉพาะตัวเราเท่านั้น (ภายใน) แต่เรายึดถือ ภายนอก คือบุคคลอื่น สัตว์บุคคลอื่นด้วย แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกายภายใน หรือกายภายนอกก็ตาม ลักษณะของสภาพธัมมะก็ไม่ต่างกันเลย ที่จะให้สติระลึกรู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรม ลักษณะธรรมอะไรบ้างที่มีในกายภายใน ภายนอก เช่น ลองจับที่กายเรามีลักษณะธรรมอะไรบ้าง แข็ง เย็น ร้อน ตึง ไหว แล้วกายคนอื่นหละ (ภายนอก) ก็ แข็ง เย็น ร้อน ตึง ไหว เมื่อสติระลึกรู้ ก็รู้เพียงลักษณะสภาพธัมมะที่เป็นแข็ง..ไหว ไม่มีเรา ไม่มีใคร มีแต่ธรรม คือ แข็ง..ไหว เท่านั้นครับ นี่คือ กายภายในและภายนอก แต่ต้องไม่ลืมเสมอว่าสติเป็นอนัตตา บังคับให้เกิดไม่ได้และสติขั้นคิดพิจารณา ไม่ใช่สติปัฏฐาน

ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 8 มิ.ย. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

ไม่ว่าภายในหรือภายนอก ก็ปรากฎให้รู้ได้เพียง ๖ ทางเท่านั้น คือ ตา หู จมูก ลิ้น

กาย ใจ ขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฎ ต้องนึกชื่อหรือเปล่า ว่านี่เป็นภายใน นี่เป็น

ภายนอก นี่เป็นกาย นี่เป็นเวทนา นี่เป็นจิต นี่เป็นธรรม สภาพธรรมจริงๆ แล้วไม่มีชื่อ

มีแต่สภาวลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดปรากฎให้รู้ได้เท่านั้น ชื่อหรือบัญญัติ เป็นเพียง

โวหารทางโลกที่ใช้สื่อความหมาย หรือเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 10 มิ.ย. 2550

พิจารณากายภายนอก เช่น เมื่อเห็นรูปร่างหน้าตาผิวพรรณของคนอื่น นั้นก็เป็นอารมณ์ภายนอก พิจารณว่าเป็นเพียงสี หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือทางใจก็คือสภาพคิดนึกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chonhinfa
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

อานิสงค์ของการมีมิตรดี สหายดี เป็นกัลยาณมิตร ได้รู้ ได้เห็น ได้ฟัง ในสิ่งที่เป็น

ประโยชน์ เป็นสาระเป็นคุณความดีของชีวิต เหล่านี้มาจากการไฝ่ใจ การศรัทธา ในการ

ฟังธรรม มีความตั้งใจที่จะพัฒนาเพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 11 มิ.ย. 2550

สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อนุโมทนา
วันที่ 16 ส.ค. 2556

เป็นสภาวธรรมที่เกิดเป็นประจำ เห็นเป็นสัตว์เป็นบุคคลประจำ อ่านแล้วเหมือนจะเข้าใจ ธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน แต่พออ่านจบ ความเข้าใจดูเหมือนจะจบไปด้วย ทุกครั้ง ดูเหมือนว่าเมื่อยังไม่ประจักษ์แจ้ง ความรู้ขั้นการศึกษาดูเหมือนเกิด-ดับ และก็ดับๆ จะเกิดอีกที ก็สงสัยอีกแล้ว จำไม่ได้อีกแล้ว ว่า ธัมมมาฯเป็นอย่างไร

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ