พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อารภสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรตักเตือน ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39216
อ่าน  435

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 301

ตติยปัณณาสก์

ติกัณฑกีวรรคที่ ๕

๒. อารภสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่ควรตักเตือน ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 301

๒. อารภสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่ควรตักเตือน ๕ประการ

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 302

วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใดปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควรกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิด เพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่าน ยังมีอยู่ อาสวะที่เกิด เพราะความเดือดร้อนของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะ ที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติ บรรเทาอาสวะ ที่เกิดเพราะความเดือดร้อนแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจะเป็นผู้เทียมทัน บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควรกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิด เพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิด เพราะความเดือดร้อนของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิด

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 303

เพราะปรารภจะล่วงอาบัติแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมกัน บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควรกล่าว ตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิด เพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงบรรเทาอาสวะที่เกิด เพราะความเดือดร้อนแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมทัน บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรม ที่เป็นบาปอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควรกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงอบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมทันบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ ถูกตักเตือนพร่ำสอนโดย เทียบกับบุคคลที่ ๕ โน้น ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมบรรลุความสิ้นอาสวะโดยลำดับ.

จบอารภสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 304

อรรถกถาอารภสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอารภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ ความว่า ภิกษุพยายามล่วงอาบัติ และเป็นผู้เดือดร้อน เพราะการล่วงอาบัตินั้นเป็นเหตุ. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตตฺตึ ได้แก่ อรหัตสมาธิ และอรหัตตผลญาณ. บทว่า นปฺปชานาติ ได้แก่ ไม่รู้เพราะยังไม่บรรลุ. บทว่า อารภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ ได้แก่ ต้องอาบัติแต่เป็นผู้ไม่เดือดร้อน เพราะออกจากอาบัติแล้ว. บทว่า น อารภติ วิปฺปฏิสารี โหติ ได้แก่ ต้องอาบัติคราวเดียวแล้ว ออกจากอาบัตินั้น ภายหลังไม่ต้องอีกก็จริง ถึงดังนั้นก็บรรเทาความเดือดร้อนไม่ได้. บทว่า น อารภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ ได้แก่ ทั้งไม่ต้องอาบัติ ทั้งไม่เป็นผู้เดือดร้อน. บทว่า ตญฺจ เจโตวิมุตตึ ฯเปฯ นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ ยังไม่บรรลุพระอรหัต. ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพโดยนัยที่ ๕.

บทว่า อารภชา ได้แก่ ได้เกิดเพราะล่วงอาบัติ. บทว่า วิปฺปฏิสารชา ได้แก่ เกิดจากความเดือดร้อน. บทว่า ปวฑฺฒนฺติ ได้แก่ อาสวะทั้งหลายพอกพูนเพราะเกิดบ่อยๆ. บทว่า อาราภเช อาสเว ปหาย ได้แก่ ละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะล่วงอาบัติ. ด้วยการแสดงอาบัติ หรือด้วยการออกจากอาบัติ. บทว่า ปฏิวิโนเทตฺวา ได้แก่ นำออกด้วยการพิจารณาถึงความเป็นผู้ดำรงอยู่ ในความบริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตํ ปญฺญฺจ ภาเวตุ ได้แก่ จงบำเพ็ญวิปัสสนาจิต และปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาจิตนั่น. บทที่เหลือพึงทราบโดยอุบายนี้.

จบอรรถกถา อารภสูตรที่ ๒