พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยอาฆาตวินยสูตร ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39239
อ่าน  449

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 339

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๒. ทุติยอาฆาตวินยสูตร

ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 339

๒. ทุติยอาฆาตวินยสูตร

ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต ๕ ประการ

[๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ โดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงรู้งับความอาฆาต ในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติวาจาบริสุทธิ์ และย่อมได้สงบทางใจ ย่อมได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลแม้เช่นนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใด เป็นผู้ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 340

พึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล เป็นวัตร เห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา ส่วนใดเป็นสาระ ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้น อย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่าย และแหนคลุมไว้ บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวกสาหร่าย และแหนด้วยมือทั้งสองแล้ว กอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วนนั้น ในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้น ในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนี้อย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน กระหายน้ำ เขาพึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 341

โคนี้ ถ้าเราจะกอบขึ้นดื่ม หรือใช้ภาชนะตักขึ้นดื่มไซร้ เราก็จักทำน้ำนั้น ให้ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไร เราพึงคุกกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโค ดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโค ดื่มน้ำแล้วไป แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น สมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้น ในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น อย่างนั้น.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เดินทางไกล แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกล พึงเห็นเขาบุรุษนั้น พึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ควานอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คนๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า คนๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทาง วาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ในบุคคล แม้เห็นปานนี้ว่า โอ ท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 342

อบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มีน้ำขาว มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ ดาดาษไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่างๆ บุคคลผู้เดินทาง ร้อนอบอ้าว เหนื่อย อ่อน กระหายน้ำ เขาพึงลงสู่สระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใส โดยกาลอันสมควร แม้ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส โดยการอันสมควร ส่วนใดของ เขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาต ในบุคคลนั้นอย่างนี้. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส โดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ โดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 343

อรรถกถาทุติยอาฆาตวินยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า อาฆาตปฏิวินยะ เพราะความระงับอาฆาตในบุคคล ๕ เหล่านั้นบ้าง เพราะควรระงับอาฆาต ด้วยธรรม ๕ เหล่านั้นบ้าง. จริงอยู่ บทว่า ปฏิวินยา นี้เป็นชื่อของวัตถุที่ควรระงับบ้าง เหตุที่ควรระงับบ้าง. ทั้งสองอย่างนั้น ก็ถูกในที่นี้. ก็บุคคลทั้งหลาย ๕ เป็นปฏิวินยวัตถุ (วัตถุที่ควรระงับ) ข้อปฏิบัติ ๕ ด้วยอุปมา ๕ ข้อ ชื่อปฏิวินยการณะ (เหตุที่ควรระงับ). บทว่า ลภติ จ กาเลน กาลํ เจตโต วิวรํ เจตโส ปสาทํ ความว่า เขายังได้ช่อง กล่าวคือ โอกาสที่จิตอันเป็นสมถะ และวิปัสสนาเกิดได้ และความผ่องใส กล่าวคือ ความเป็นผู้ผ่องใส ด้วยศรัทธาเป็นครั้งคราว.

บทว่า รถิยาย ได้แก่ ระหว่างวิถี. บทว่า นนฺตกํ ได้แก่ ท่อน ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า นิคฺคหิตฺวา ได้แก่ เหยียบแล้ว. บทว่า โย ตตฺถ สาโร ได้แก่ ส่วนใดในผ้าผืนนั้นยังดีอยู่. บทว่า ตํ ปริปาเตตฺวา ได้แก่ ฉีกส่วนนั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่าผู้อยู่ด้วยเมตตา ดุจภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บุคคลผู้มีเวรดุจผ้าขี้ริ้วบนถนน ความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ดุจท่อนผ้าเปื่อย ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดุจท่อนผ้ายังดี พึงเห็นว่า เวลาที่ไม่ใส่ใจ ถึงความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ใส่ใจถึง ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดับจิตตุบาท ในคนที่เป็นศัตรูกันแล้ว อยู่อย่าง สบาย ดุจเวลาที่ทิ้งท่อนผ้าเปื่อย ถือเอาผ้าท่อนดี เย็บย้อมแล้วห่มจาริกไป.

บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺธา ได้แก่ ถูกสาหร่าย และแหนปกคลุม. บทว่า มมฺมปเรโต ได้แก่ เหงื่อไหลเพราะร้อน. บทว่า กิลนฺโต ได้แก่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 344

เดินทางเหนื่อยมา. บทว่า ตสิโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า อปวิยูหิตฺวา ได้แก่ แหวก. บทว่า ปิวิตฺวา ได้แก่ ดื่มน้ำใส. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา พึงเห็นดุจบุรุษ ถูกความร้อนเผา ความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ ก็ดุจสาหร่าย และแหน ความเป็นผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ ก็ดุจน้ำใส เวลาที่ภิกษุไม่ใส่ใจถึง ความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึง ความเป็นผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ ยังจิตตุบาทในคนมีเวรกันให้ดับไปแล้ว อยู่อย่างสบาย พึงเห็นดุจบุรุษแหวกสาหร่าย และแหน แล้วดื่มน้ำใสแล้วเดินไป ฉะนั้น.

บทว่า โขเภสฺสามิ คือ ให้กระเพื่อม. บทว่า โลเฬสฺสามิ คือ จักทำให้ขุ่น บทว่า อปฺเปยฺยมฺปิ นํ กริสฺสามิ ได้แก่ จักทำให้ดื่มไม่ได้. บทว่า จตุคุณฺฑิโก ได้แก่ เอาเข่าทั้งสอง และมือทั้งสอง หมอบไปบนแผ่นดิน. บทว่า โคปิตกํ ปิวิตฺวา ได้แก่ ก้มลงดื่มอย่างแม่โค. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ผู้ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา พึงเห็นดุจบุรุษ ถูกความร้อนเผา. คนมีเวรก็ดุจรอยโค คุณเล็กน้อยในภายในของภิกษุนั้น ดุจน้ำนิดหน่อยในรอยโค การที่ภิกษุนั้น ไม่ใส่ใจถึง ความเป็นผู้มีกายสมาจาร และวจีสมาจารอันไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึง การได้ปีติ และปราโมทย์ อันเป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะอาศัยการฟังธรรมตามกาลอันควร แล้วยังจิตตุบาทให้ดับไป พึงเห็นดุจบุรุษ หมอบก้มลงดื่มน้ำอย่างแม่โค หลีกไปฉะนั้น.

บทว่า อาพาธิโก ได้แก่ เจ็บป่วยด้วยโรคของแสลง ที่ทำลายอิริยาบถ. บทว่า ปุรโตปิสฺส แปลว่า พึงมีอยู่ข้างหน้า. บทว่า อนยพฺพยสนํ ได้แก่ ความไม่เจริญ คือความพินาศ. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ คนที่ประกอบด้วยธรรมส่วนคำทั้งหมด พึงเห็นดุจคนไข้อนาถา สงสารอันหาที่สุดเบื้องต้นไม่ได้ ดุจทางไกล ความที่นิพพานไกล ดุจความที่บ้านไกล ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 345

การไม่ได้โภชนะ คือ ผลแห่งสมณธรรม ดุจการไม่ได้โภชนะอันเป็นที่สบาย ความไม่มีสมถะ และวิปัสสนา ดุจการไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย ความไม่มีผู้เยียวยากิเลสด้วยโอวาทานุสาสนี ดุจการไม่ได้ผู้อุปัฏฐากที่เหมาะสม ความไม่ได้พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต ผู้ทำให้บรรลุนิพพาน ดุจการไม่ได้ผู้นำไปให้ถึงเขตบ้าน การที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ทำกรุณาให้เกิดในบุคคลนั้นแล้ว จิต [อาฆาต] ดับไป พึงเห็นดุจการที่บุรุษคนใดคนหนึ่ง เห็นคนไข้อนาถา แล้วอุปัฏฐากด้วยความกรุณา ฉะนั้น.

บทว่า อจฺโฉทกา คือ น้ำใส. บทว่า สาโตทกา คือ น้ำหวาน. บทว่า สีโตทกา คือน้ำเย็นทั่วตัว. บทว่า เสตกา ได้แก่ มีสีขาวในที่คลื่นแตก. บทว่า สุปติฏฺา คือมีท่าเรียบ. ในบทว่า เอวเม โข นี้ ผู้อยู่ด้วยเมตตา พึงเห็นดุจบุรุษถูกแดดเผา บุรุษผู้มีทวารทั้งหมดบริสุทธิ์ ดุจสระโบกขรณีนั้น การทำสิ่งที่ต้องการในทวารเหล่านั้น ให้เป็นอารมณ์แล้ว [จิตอาฆาตดับ] พึงทราบดุจการอาบ ดื่ม และขึ้นไปนอนที่ร่มไม้ แล้วไปตามความต้องการ ฉะนั้น.

จบอรรถกถา อาฆาตวินยสูตรที่ ๒