อยากทราบเรื่อง บาป-บุญ
๑. เราไม่สามารถทราบได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไม่ให้สนใจสิ่งที่ผ่านไปแล้วและยังมาไม่ถึง คืออยู่กับปัจจุบัน
๒. เราไม่สามารถแก้ไขสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่ควรอาจหาญร่าเริงที่จะต้องได้รับผล (ที่ได้กระทำแล้ว) และเพียรระวังการกระทำกรรมใหม่ ซึ่งจะต้องเข้าใจก่อนว่า ขณะไหนเป็นกรรม ขณะไหนเป็นผลของกรรม
๑. สัตว์โลกเป็นที่ดูผลของบุญและบาป ทำไมบางคนเกิดมารวย รูปงาม มีปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม ก็เพราะในอดีตเขาเคยทำบุญให้ทาน รักษาศีล และ ฟังธรรม ถ้าเราอยากได้รับเหตุที่ดี ก็เริ่มตั้งแต่ชาตินี้ค่ะ เพราะชาตินี้จะเป็นชาติหน้าของอนาคตค่ะ
๒. บาปกรรมหรืออกุศลกรรมบถที่เราทำไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้ นอกจากเราทำเหตุใหม่ การทำความดีมากๆ โดยเฉพาะอบรมสติปัฏฐาน จนกว่าจะเป็นพระอริยบุคคล เมื่อนั้นก็ปิดประตูอบายภูมิสนิทค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
๑. เราสามารถทราบไหมครับว่าเรามีบาปหรือบุญอยู่มากน้อยแค่ไหน
๒ .เราจะแก้ไขบาปให้น้อยลงได้อย่างไร
ข้อ ๑ คำถามข้อแรก ไม่แน่ใจว่า กล่าวถึงกุศลหรืออกุศลมาก หรือผลของกุศลหรือผลของอกุศลมาก ซึ่งเป็นวิบากผลของกรรม แต่จะขออธิบายทั้ง ๒ นัย
นัยแรก จะทราบได้อย่างไรว่า เรามีกุศลหรืออกุศลมาก
ก่อนศึกษาธรรม เราเข้าใจว่าเราเป็นคนดีมากไม่ได้ทำความเดือดร้อนกับใครแต่จะทราบขึ้น เมื่อศึกษาธรรม ทราบได้ก็เมื่อปัญญาเกิดขึ้นนั่นเองว่า กิเลสมีหลายระดับ ทั้งที่ออกมาทางกาย วาจา หรือ ที่อยู่ในใจ (เช่น โกรธ แต่ไม่แสดงออก) หรือกิเลสระดับที่นอนเนื่องอยู่ในจิตทุกขณะเป็นอนุสัยกิเลส จะทราบว่ามี กุศลหรืออกุศลมาก ทราบหรือรู้ก็มีหลายระดับตามระดับปัญญา ปัญญาขั้นการฟัง ก็รู้ด้วยการคิดนึก เทียบเคียงในชีวิตประจำวันว่าเรามีกิเลสมาก แต่ยังไม่รู้จักตัวจริงของกิเลส ขั้นสติปัฏฐานก็เริ่มรู้จักตัวจริงของกิเลสมากขึ้น จนเป็นปัญญาระดับสูงขึ้นก็รู้จักตัวเองมากขึ้น ว่ามีกิเลสมากครับ ดังนั้นการจะรู้สิ่งใดตามความเป็นจริงจึงเป็นหน้าที่ของปัญญา
นัยที่สอง จะทราบได้อย่างไรว่า เรามีผลของบุญหรือ ผลของบาปมาก (วิบาก)
ก็ด้วยปัญญา เช่นกัน ตามระดับปัญญา ปกติเราจะคิดเป็นเรื่องราวว่า ถ้าโดนรถชน วิบากไม่ดีแต่ตามความเป็นจริงแล้ว วิบากไม่เป็นเรื่องราวยาวนานอย่างนั้นแต่เป็นจิตที่เกิดทีละขณะ ขณะที่เห็นไม่ดี ขณะหนึ่งก็เป็นวิบากที่ไม่ดี เป็นต้น รู้อย่างนี้ด้วยการศึกษาแต่ก็ยังไม่รู้ตัวจริงของวิบาก เช่น จิตเห็น ต่อเมื่อเป็นปัญญาที่เป็นระดับสติปัฏฐานครับ จะรู้ได้ด้วยปัญญาเท่านั้น
๒. เราจะแก้ไขบาปให้น้อยลงได้อย่างไร
คงหมายถึง ผลของบาปให้น้อยลง ก็ด้วยมีปัญญา เช่นกัน ดังนั้นต้องเริ่มจากการศึกษาฟังธรรมให้เข้าใจหนทางที่ถูกต้องไม่ต้องห่วงเรื่องการให้ผลของบาป เพราะบังคับไม่ได้อยู่แล้วครับตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ ก็ยังต้องได้รับผลของอกุศล แม้พระพุทธเจ้าก็ได้รับผลของอกุศล แต่ท่านไม่เดือดร้อน จึงควรอบรมปัญญาเท่านั้นครับ ซึ่งการให้ผลของอกุศลจะน้อยลง ก็แตกต่างตามระดับของบุคคลอันเนื่องมาจากการอบรมปัญญาครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก
เชิญคลิกอ่านที่นี่