พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สากัจฉาสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39240
อ่าน  408

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 345

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๓. สากัจฉาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 345

๓. สากัจฉาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา

[๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 346

ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยศีลสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหา ที่มาด้วยวิมุตติญาณทัสสนสัมปทากถาได้ ๑.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์.

จบสากัจฉาสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓ - ๔ มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้ว ในหนหลังแล.