พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ว่าด้วยเหตุถามปัญหา ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39242
อ่าน  353

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 347

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร

ว่าด้วยเหตุถามปัญหา ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 347

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร

ว่าด้วยเหตุถามปัญหา ๕ ประการ

[๑๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูป ย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วยเหตุ ๕ ประการ ทั้งหมด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหาก็ภิกษุอื่นเพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม ๑ ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑ ภิกษุบางรูปดูหมิ่นจึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑ ภิกษุบางรูปประสงค์จะรู้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑ อนึ่ง ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 348

ภิกษุอื่น ถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเราถามปัญหาจักไม่แก้โดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูป ย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วยเหตุ ๕ ประการ ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุถูกเราถามปัญหาจักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเราถาม ปัญหาจักไม่แก้โดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหากะภิกษุอื่น.

จบปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕

อรรถกถาปัญหาปุจฉาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริภวํ แปลว่า เหยียดหยาม อธิบายว่า ถามเพื่อจะเหยียดหยาม ด้วยคิดว่า เราจักเหยียดหยามอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า าตุกาโม ได้แก่ เป็นผู้ใคร่รู้.

จบอรรถกถา ปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕