พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. นิโรธสูตร ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระที่น่าเคารพบูชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39243
อ่าน  399

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 349

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๖. นิโรธสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระที่น่าเคารพบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 349

๖. นิโรธสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระที่น่าเคารพบูชา

[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็น สหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญา-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 350

เวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็น สหายเหล่าเทพ ผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ บางเหล่าพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี ... ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 351

ภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่งเสีย ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นิ่งอยู่.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ก็เธอย่อมหมายถึง เหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึง เหล่าเทพชั้นอรูปที่สำเร็จด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอุทายี ไฉนเธอผู้เป็นพาล ไม่ฉลาด จึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอควรพูด ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ไฉนพวกเธอ จึงวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความกรุณาจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาด ซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ... ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อม เบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้น ยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะท่านอุปวาณะ โดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้นไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น ในเวลาเย็นแล้ว เสด็จเข้าไปนั่งที่อุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถาม ท่านพระอุปวาณะว่า ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 352

แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เธอเป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑ เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ เธอย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

พ. ดีละๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้ ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อนพรหมจรรย์พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่นอะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เถระ ฉะนั้น เพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ.

จบนิโรธสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 353

อรรถกถานิโรธสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในนิโรธสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺเถตํ านํ แปลว่า เหตุนั้นมีอยู่. บทว่า โน เจ ทิฏฺเว ธมฺเม อญฺํ อาราเธยฺย ความว่า หากภิกษุนั้น ยังไม่บรรลุพระอรหัตในอัตตภาพนี้. บทว่า กพฬิงฺการภกฺขานํ เทวานํ ได้แก่ เทวดาชั้นกามาวจร. บทว่า อญฺตรํ มโนมยํ กายํ ได้แก่ หมู่พรหม ชั้นสุทธาวาสหมู่ใดหมู่หนึ่ง ซึ่งเกิดด้วยใจที่ประกอบด้วยฌาน. บทว่า อุทายี ได้แก่ โลฬุทายี. โลฬุทายีนั้นได้สดับว่า มโนมยํ ดังนี้ จึงค้านว่าไม่เป็นการสมควร. เพื่อป้องกันลัทธิของพวกคนพาล ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตรจะรู้อะไร ซึ่งพวกภิกษุยังพากันคัดค้านถ้อยคำอย่างนี้ ต่อหน้าดังนี้ พระเถระไม่หยุดถ้อยคำนั้นเสียเอง จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า อตฺถินาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอ้างถึง. ด้วยเหตุนั้น บทว่า อชฺฌุเปกฺ ขิสฺสถ ในที่นี้ท่านจึงทำให้เป็นศัพท์อนาคตกาล. ในสูตรนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พวกเธอจงเพ่งดูภิกษุผู้เป็นเถระ ถูกเบียดเบียนอย่างนี้ เราจะไม่ทนต่อพวกเธอ ไม่อดทน ไม่อดกลั้นละ ดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ กะพระอานนท์เถระเท่านั้น. ตอบว่า เพราะพระอานนท์เถระเป็นคลังธรรม. จริงอยู่ พระอุทายีเมื่อกล่าวต่อท่านผู้เป็นคลังธรรมอย่างนี้ จึงเป็นภาระที่จะห้ามปราม. อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์เถระก็เป็นปิยสหาย ของพระสารีบุตรเถระ ด้วยเหตุนั้น จึงเป็นภาระของพระอานนท์เถระ. ในข้อนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตำหนิพระอานนท์เถระ จึงตรัสอย่างนี้ก็จริง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 354

ถึงอย่างนั้นก็มิใช่ตำหนิพระอานนท์เถระเท่านั้น พึงทราบว่าเป็นการตำหนิภิกษุ ทั้งหมด ที่อยู่กันพร้อมหน้า นั่นแล.

บทว่า วิหารํ ได้แก่ พระคันธกุฎี. บทว่า อนจฺฉริยํ ได้แก่ ไม่น่าอัศจรรย์. บทว่า ยถา เป็นคำกล่าวเหตุ. ในบทว่า อายสฺมนฺตญฺ เเวตฺถ อุปวาณํ ปฏิภาเสยฺย พระอานนท์เถระชี้แจงว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ ทรงยกเรื่องนี้มาอ้างแล้ว คำตอบจงแจ่มแจ้ง จงปรากฏแก่ท่านอุปวาณะเถิด. บทว่า สารชฺชํ โอกฺกนฺตํ ได้แก่ เกิดโทมนัสใจ. ท่านอุปวาณะกล่าวถึงศีลของพระขีณาสพ เป็นต้น ด้วยบทมีอาทิว่า สีลวา ดังนี้. บทว่า ขณฺฑิจฺเจน เป็นต้น ท่านอุปวาณะกล่าว ด้วยถามถึงเหตุแห่งสักการะ เป็นต้น ในข้อนี้มีอธิบายว่า สพรหมจารีทั้งหลาย พึงสักการะเพื่อนพรหมจารี ด้วยเหตุมีฟันหัก เป็นต้น.

จบอรรถกถา นิโรธสูตรที่ ๖