เหตุควรโกรธในโลกไม่มี

 
สุทัศน์
วันที่  7 มิ.ย. 2550
หมายเลข  3927
อ่าน  1,965

พระพุทธองค์สอนว่า เหตุควรโกรธในโลกไม่มี หมายความว่า ไม่ควรโกรธใครๆ เลย ถูกต้องหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ถูกแล้วครับ ไม่ควรโกรธใครๆ เลย แม้ว่าเขาว่า หรือตบตี ประหานด้วยท่อนไม้หรืออาวุธใด ไม่ควรโกรธ ผู้ที่โกรธต่อผู้ที่กระทำไม่ดีกับเรา ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ประพฤติตามคำสอน ดังข้อความในกกจูปมสูตรว่า

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

เรื่อง โจรเอาเลื่อย เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของพวกเธอ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
vipanapa
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

เหตุควรโกรธไม่มี เป็นความจริงที่สุด พระพุทธองค์ทรงตรัสคำใดแล้วที่จะไม่จริงไม่มี แต่ผู้ที่จะละความโกรธได้หมดก็คือพระอนาคามี สำหรับปุถุชนอย่างเราๆ เรื่องที่จะไม่ให้โกรธนั้นยาก มีเหตุให้โกรธได้ทั้งวันตั้งแต่ตื่นจนหลับ บางทีหลับก็ยังฝันในเรื่องที่ทำให้โกรธ เพราะเราไม่รู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ โกรธ (โทสะ) เป็นธรรมะ เป็นมูลของกิเลส สำหรับ ปุถุชน โกรธนั้นเป็นเราเสมอ ต่อเมื่อไรเข้าใจจริงๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็ว เมื่อสติปัฎฐานเกิด วิปัสสนาญาณเกิด ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อนั้นเหตุที่ควรโกรธก็ไม่มี แต่จะอีกนานแค่ไหนก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่ยังมีการฟัง การพิจารณาธรรม สะสมการอบรมปัญญาไปเรื่อยๆ ไม่พัก ไม่เพียร เมื่อไรก็เมื่อนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ โทษที่ทำร้ายพระสมณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

แน่นอนครับ ไม่ควรโกรธเมื่อรู้ตามความเป็นจริง (มีปัญญา) แต่เมื่อปัญญาน้อย ยังไม่ใช่พระอนาคามี ก็ย่อมมีเหตุให้โกรธได้เมื่อพิจารณาด้วยความไม่แยบคาย ในอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความขุ่นเคืองครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

เชิญคลิกอ่านที่นี่

เหตุเกิดพยาบาท

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 มิ.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

เหตุละพยาบาท

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 7 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

สำหรับพระโสดาบันและพระสกทาคามี โกรธนั้นไม่ใช่เรา แต่ท่านก็ยังมีความโกรธ เพราะท่านยังละความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเห็นว่าทุกอย่างเป็นธรรมยังละความโกรธไม่ได้ แต่เป็นการละความเห็นผิด ซึ่งเป็นธรรมเบื้องต้นที่ควรละ ยังเหลือความเป็นเรา ด้วยตัณหาและมานะ ซึ่งจะต้องละด้วยมรรคเบื้องสูงต่อไป

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ