พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. วัสสสูตร ว่าด้วยอันตรายของฝน ๕ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39274
อ่าน  415

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 438

จตุตถปัณณาสก์

พราหมณวรรคที่ ๕

๗. วัสสสูตร

ว่าด้วยอันตรายของฝน ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 438

๗. วัสสสูตร

ว่าด้วยอันตรายของฝน ๕ ประการ

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน (ฝนแล้ง) ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เตโชธาตุเบื้องบน อากาศกำเริบ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะเตโชธาตุ กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนข้อที่ ๑ ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง อีกประการหนึ่ง วาโยธาตุเบื้องบน อากาศกำเริบ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะวาโยธาตุกำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนข้อที่ ๒ ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง อีกประการหนึ่ง อสุรินทราหู เอาฝ่ามือรับน้ำแล้ว ทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็น อันตรายของฝนข้อที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง อีกประการหนึ่ง วัสสวลาหกเทวบุตร ประมาทเสีย นี้เป็นอันตรายของฝนข้อที่ ๔ ซึ่งพวกหนอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง อีกประการหนึ่ง พวกมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนข้อ ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอดู รู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดู หยั่งไม่ถึง.

จบวัสสสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 439

อรรถกถาวัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในวัสสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เนมิตฺตา ได้แก่ นักพยากรณ์ [หมอดู]. บทว่า เตโชธาตุ ปกุปฺปติ ได้แก่ กองของไฟใหญ่เกิดขึ้น. บทว่า ปาณินา อุทกํ ปฏิจฺฉิตฺวา ได้แก่ เอามือกว้างประมาณ ๓๐๐ โยชน์ รับน้ำที่ตั้งขึ้นตามฤดู. บทว่า ปมตฺตา โหนฺติ ได้แก่ เป็นผู้ประมาท คือ ปราศจากสติ เพราะมัวเมาในการเล่นของตนเสีย. จริงอยู่ เมื่อพวกเขามีจิตคิดว่า พวกเราจะเริงฤดีของตน ฝนย่อมตก แม้มิใช่ฤดูกาล เพราะไม่มีจิตคิดอย่างนั้น ฝนจึงตก. ทรงหมายถึงข้อนั้น จึงตรัสดังนี้ว่า ถึงแม้ในฤดูกาลฝนก็ไม่ตก.

จบอรรถกถา วัสสสูตรที่ ๗