พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อาวาสิกสูตร ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39318
อ่าน  485

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 485

ปัญจมปัณณาสก์

อาวาสกวรรคที่ ๔

๑. อาวาสิกสูตร

ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 485

อาวาสกวรรควรรณนาที่ ๔

๑. อาวาสิกสูตร

ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุเจ้าอาวาส เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงจำสุตะ ๑ เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกออกเร้น ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ๑ เป็นผู้ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ๑ มีปัญญาทราม โง่เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุเจ้าอาวาส เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ถึงพร้อมด้วยวัตร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ๑ เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกออกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม ๑ มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ๑ มีปัญญาเฉลียวฉลาด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาส ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เป็นผู้ควรยกย่อง.

จบอาวาสิกสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 486

อาวาสกวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาอาวาสิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอาวาสิกสูตรที่ ๑ แห่ง วรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อากปฺปสมฺปนฺโน ได้แก่ เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยกิริยา ของสมณะ. บทว่า อภาวนิโย โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง.

จบอรรถกถา อาวาสิกสูตรที่ ๑