๗. กุสลสูตร ว่าด้วยโทษของการเห็นแก่หลับนอน
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 563
ปฐมปัณณาสก์
สาราณิยาทิวรรคที่ ๒
๗. กุสลสูตร
ว่าด้วยโทษของการเห็นแก่หลับนอน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 563
๗. กุสลสูตร
ว่าด้วยโทษของการเห็นแก่หลับนอน
[๒๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ท่านพระสารีบุตรก็ออกจากที่เร้น ในเวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่านพระอนุรุทธะ แม้ท่านพระเรวตะ แม้ท่านพระอานนท์ ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ด้วยการประทับนั่ง สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงลุกจาก อาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร แม้ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 564
เสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะ ได้ไปยังวิหารของตนๆ แต่พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นาน ต่างก็นอนหลับ กัดฟันอยู่ ณ ศาลาที่บำรุง นั้นจนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ซึ่งต่างก็นอนหลับกัดฟันอยู่ จนพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะ ที่ได้ปูลาดไว้แล้ว ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรไปไหน พระโมคคัลลานะไปไหน พระมหากัสสปะไปไหน พระมหากัจจานะไปไหน พระมหาโกฏฐิกะไปไหน พระมหาจุนทะไปไหน พระมหากัปปินะไปไหน พระอนุรุทธะไปไหน พระเรวตะไปไหน พระอานนท์ไปไหน พระสาวกชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะแล้ว ได้ไปยังวิหารของตนๆ.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เป็นพระเถระหรือหนอ เธอทั้งหลายเป็นภิกษุใหม่ นอนหลับกัดฟันอยู่ จนพระอาทิตย์ขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า พระราชาผู้กษัตริย์ ได้รับมูรธาภิกเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทมหลับสบาย ตามพระประสงค์อยู่ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง มาแล้วว่า พระราชาผู้กษัตริย์ ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทมหลับสบาย ตามพระประสงค์ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 565
พระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็น หรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ท่านผู้ครองรัฐ ท่านผู้เป็นทายาทแห่งตระกูล ท่านผู้เป็นเสนาบดี ท่านผู้ปกครองบ้าน ท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ปกครองหมู่คณะ อยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ.
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง มาแล้วว่า ท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ปกครองหมู่คณะอยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาแล้วว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 566
ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งวันคืออยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบกุสลสูตรที่ ๗
อรรถกถากุสลสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในกุสลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า ออกจากวิหารธรรม คือ ผลสมาบัติ ที่ทนต่อการเพ่งธรรม เพื่อความเป็นผู้ๆ เดียว. บทว่า ยถาวิหารํ ได้แก่ วิหารอันเป็นที่อยู่ของตนๆ. บทว่า นวา ได้แก่ ยังใหม่ต่อบรรพชา. ภิกษุเหล่านั้นมีประมาณ ๕๐๐ รูป.
บทว่า กากจฺฉมานา ได้แก่ การทำเสียงกรอดๆ (คือนอนกัดฟัน). บทว่า เถรา ได้แก่ ภิกษุผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคง. บทว่า เตน โน แปลว่า เธอทั้งหลายเป็นพระเถระได้อย่างไรหนอ.๑ บทว่า เสยฺยสุขา เป็นต้น
๑. ปาฐะว่า เตน นุ ฉะบับใบลาน เป็น เก นุ โข แปลตามใบลาน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 567
มีใจความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ผู้ปกครองรัฐ ชื่อว่า รฏฺิโก. ผู้ปกครองรัฐ ต่อเนื่องจาก ที่มารดาบิดาปกครอง ชื่อว่า เปตฺตณิโก. ผู้เป็นหัวหน้าแห่งเสนา (แม่ทัพ) ชื่อว่า เสนาปติกะ. ผู้ปกครองหมู่บ้าน ชื่อว่า คามคามณิโก. ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ ชื่อว่า ปูคคามณิโก.
บทว่า อวิปสฺสโก กุสลานํ ธมฺมานํ ความว่า เป็นผู้ไม่แสวงหา คือไม่แสวงหากุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า โพธิปกฺขิยานํ ธมฺมานํ ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.
จบอรรถกถา กุสลสูตรที่ ๗