พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ภยสูตร ว่าด้วยโทษของกาม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39370
อ่าน  399

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 583

ปฐมปัณณาสก์

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๓. ภยสูตร

ว่าด้วยโทษของกาม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 583

๓. ภยสูตร

ว่าด้วยโทษของกาม

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยนี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า ทุกข์นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรคนี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า ฝีนี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เครื่องขัดข้องนี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตมนี้ เป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตวโลก ผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัด เพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัย แม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจากภัย แม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า ภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ทุกข์... โรค... ฝี... เครื่องขัดข้อง... เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตวโลก ผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้ ถูกความกำหนัด เพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในปัจจุบัน ไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อ ของกาม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 584

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่งทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง เปือกตม ว่า เป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะเห็นภัยในการยึดถือ ซึ่งเป็นแดนเกิดของชาติ และมรณะ ชนทั้งหลายจึงหลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นชาติ และมรณะ ชนเหล่านั้นถึงแดนเกษม มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ผ่านพ้นเวร และภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง.

จบภยสูตรที่ ๓

อรรถกถาภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในภยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามราครตฺตายํ ตัดบทเป็น กามราครตฺโต อยํ (แปลว่า ภิกษุนี้ ถูกกามราคะย้อมแล้ว). บทว่า ฉนฺทราควินิพนฺโธ ความว่า ถูกฉันทราคะผูกพันแล้ว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัย คือความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า ปงฺกา ได้แก่ จากเปลือกตม คือกิเลส. บทว่า สงฺโค ปงฺโก จ อุภยํ ความว่า ทั้งสองอย่างนี้ คือ สังคะ (เครื่องขัดข้อง) และปังกะ (เปลือกตม)

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 585

สองบทพระคาถาว่า เอเต กามา ปวุจฺจนฺติ ยตฺถ สตฺโต ปุถุชฺชโน ความว่า ปุถุชน ติด ข้อง เกี่ยวพัน ผูกพันอยู่ในเครื่องข้อง และเปลือกตมอันใด.

บทว่า อุปาทาเน ได้แก่ ในอุปาทาน ๔ อย่าง. บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ความว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นปัจจัยแห่งชรา และมรณะ. บทว่า อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ ได้แก่ หลุดพ้นไปเพราะไม่ยึดมั่น. บทว่า ชาติมรณสงฺขเย ได้แก่ ในพระนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ และมรณะทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมพ้นด้วยวิมุตติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์. ภิกษุนี้บรรลุแล้ว ซึ่งพระอรหัตตผล นั่นแล โดยไม่หมุนไปในฐานะนี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยผู้เป็นพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เต เขมปตฺตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมปตฺตา ได้แก่ ถึงซึ่งความเกษม. บทว่า สุขิโน ได้แก่ ถึงความสุขโดยโลกุตตรสุข. บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา ได้แก่ ดับสนิทแล้ว ในทิฏฐธรรมนี้แหละ เพราะไม่มีกิเลสในภายใน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะแล้ว ในคาถาจึงตรัส ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถา ภยสูตรที่ ๓