พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. หิมวันตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทําลายอวิชชาได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39371
อ่าน  403

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 585

ปฐมปัณณาสก์

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๔. หิมวันตสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทําลายอวิชชาได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 585

๔. หิมวันตสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำลายอวิชชาได้

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 586

ในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงอวิชชาอันลามกเล่า.

จบหิมวันตสูตรที่ ๔

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในหิมวันตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปทาเลยฺย แปลว่า พึงทำลาย. บทว่า ฉวาย ได้แก่ ต่ำทราม. บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้ฉลาด คือเฉียบแหลม ได้แก่มีปรีชาสามารถ เพื่อเข้าสมาธิ โดยกำหนดเอาอาหารเป็นที่สบาย และฤดูเป็นที่สบาย. บทว่า สมาธิสฺส ิตกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาด ในการหยุดสมาธิไว้ได้ อธิบายว่า สามารถจะยับยั้งไว้ได้.

บทว่า สมาธิสฺส วุฏานกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการออกสมาธิ อธิบายว่า สามารถเพื่อจะออกได้ตามกำหนด. บทว่า สมาธิสฺส กลฺลิต กุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาด ในความที่สมาธิควรแก่กาล อธิบายว่า สามารถเพื่อจะทำให้สมควร เพื่อให้สมาธิจิตร่าเริง.

บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อเว้นอสัปปายะ คือธรรมที่ไม่ได้เป็นอุปการะแก่สมาธิ ส้องเสพสัปปายะ คือธรรมที่เป็นอุปการะ (แก่สมาธิ) ก็ดี รู้อยู่ว่า สมาธินี้ มีนิมิตเป็นอารมณ์ สมาธินี้ มีลักษณะเป็นอารมณ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 587

บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อสามารถ เพื่อจะนำสมาธิมีปฐมฌาน เป็นต้น ให้ก้าวหน้าไป เพื่อประโยชน์แก่การเข้าสมาบัติสูงๆ ขึ้นไป ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด ในความก้าวหน้าของสมาธิ คือ เธอออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ฯลฯ ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา หิมวันตสูตรที่ ๔