พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมสมยสูตร ว่าด้วยเวลาที่ควรพบผู้เจริญภาวนา ๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39374
อ่าน  388

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 594

ปฐมปัณณาสก์

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๗. ปฐมสมยสูตร

ว่าด้วยเวลาที่ควรพบผู้เจริญภาวนา ๖


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 594

๗. ปฐมสมยสูตร

ว่าด้วยเวลาที่ควรพบผู้เจริญภาวนา ๖

[๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจ ถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 595

เพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้น พึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อละพยาบาทแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะ ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วก ล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 596

นั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจ ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิต เป็นที่สิ้นอาสวะ โดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัย กระทำไว้ในใจนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้ ไม่เห็นซึ่งนิมิต เป็นที่สิ้นอาสวะ โดยลำดับ ในเมื่อผมอาศัย กระทำไว้ในใจนั้นดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ จงแสดงธรรม เพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม เพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

จบปฐมสมยสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 597

อรรถกถาปฐมสมยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า มโนภาวนียสฺส นี้ มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุชื่อว่า ผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะอบรมใจ คือยังใจให้เจริญ. บทว่า ทสฺสนาย ได้แก่ เพื่อเห็น. บทว่า นิสฺสรณํ ได้แก่ ทางออก คือความสงบระงับ. บทว่า ธมฺมํ เทเสติ ความว่า บอกอสุภกัมมัฏฐาน เพื่อต้องการให้ละกามราคะ.

ในทุติยวาร เป็นต้น พึงทราบอธิบายว่า บอกเมตตากัมมัฏฐาน เพื่อละพยาบาทนิวรณ์ บอกกัมมัฏฐาน ที่เป็นเหตุบรรเทาถีนมิทธะ คือ อาโลกสัญญา หรือกัมมัฏฐาน อันเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อละถีนมิทธนิวรณ์ แสดงธรรม กล่าวกถา ปรารภคุณของพระรัตนตรัย เพื่อละวิจิกิจฉานิวรณ์.

บทว่า อาคมฺม แปลว่า ปรารภ. บทว่า มนสิกโรโต ความว่า ทำไว้ในใจด้วยสามารถให้เป็นอารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวานํ ขโย โหติ ความว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีโดยปราศจากอันตราย.

จบอรรถกถา ปฐมสมยสูตรที่ ๗