พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อนุตตริยสูตร ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39377
อ่าน  509

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 607

ปฐมปัณณาสก์

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๑๐. อนุตตริยสูตร

ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 607

๑๐. อนุตตริยสูตร

ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ เป็นไฉน คือ ทัสสนานุตริยะ ๑ สวนานุตริยะ ๑ ลาภานุตริยะ ๑ สิกขานุตริยะ ๑ ปาริจริยานุตริยะ ๑ อนุสตานุตริยะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตริยะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้ นั้นแล เป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 608

เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยม กว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล ผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ทัสสนานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะเป็นดังนี้.

ก็สวนานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆ ต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการฟังนี้นั้น เป็นกิจแล้ว... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่า การฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็ลาภานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมได้ลาภ คือ บุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 609

น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้น เป็นของเลว... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่า การได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็สิกขานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้น เป็นการศึกษาที่เลว... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่า การศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรม วินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 610

ก็ปาริจริยานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูง ชั้นต่ำ บำรุงสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการบำรุงนี้นั้น มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้น เป็นการบำรุงที่เลว... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่า การบำรุงทั้งหลาย. ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย... เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็อนุสตานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึง การได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้ มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ ยอดเยี่ยมกว่า การระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 611

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้แล.

ภิกษุเหล่าใดได้ ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ ยินดีใน สิกขานุตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญอนุสสติ ที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัด ซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์ โดยกาลอันควร.

จบอนุตตริยสูตรที่ ๑๐

จบอนุตตริยวรรคที่ ๓

อรรถกถาอนุตตริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอนุตตริยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุจฺจาวจํ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง (ไปเพื่อฟัง) เสียงใหญ่น้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสียงสูงๆ ต่ำๆ. บทว่า หีนํ แปลว่า เลว. บทว่า คมฺมํ ความว่า เป็นการดูของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิกานํ ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน. บทว่า อนริยํ ความว่า ไม่ประเสริฐ คือไม่สูงสุด ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์. บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ความว่า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 612

บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ ความเบื่อหน่าย ในวัฏฏะ. บทว่า น วิราคาย ความว่า มิใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ การสำรอกราคะ เป็นต้น. บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไป เพื่อดับความไม่เป็นไปแห่งกิเลส มีราคะ เป็นต้น. บทว่า น อุปสมาย คือ ไม่ใช่ เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส มีราคะ เป็นต้น. บทว่า น อภิญฺาย ความว่า มิใช่เป็นไป เพื่อต้องการรู้ยิ่ง.

บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า มิใช่เพื่อต้องการแทงตลอด มัคคญาณทั้ง ๔ กล่าวคือ สัมโพธิญาณ. บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพาน. บทว่า นิวิฏฺสทฺโธ ความว่า ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว. บทว่า นิวิฏฺเปโม ความว่า ได้แก่ มีความรักตั้งมั่นแล้ว. บทว่า เอกนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดยอด อธิบายว่า มีศรัทธา ไม่คลอนแคลน. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ความว่า เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า เอตทานุตฺตริยํ ความว่า การเห็นนี้ เป็นการเห็น ที่ไม่มีการเห็นอย่างอื่น เยี่ยมกว่า.

บทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ความว่า ศึกษาหัตถิศิลปะที่มีช้าง เป็นนิมิต ที่จะต้องศึกษา. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อุจฺจาวจํ ได้แก่ ศึกษาศิลปะใหญ่น้อย. บทว่า อุปฏิตา ปาริจริเย ความว่า บำรุงด้วยการปรนนิบัติ. บทว่า ภาวยนฺติ อนุสฺสตึ ความว่า เจริญอนุสสติอันยอดเยี่ยม. บทว่า วิเวกปฺปฏิสํยุตฺตํ ความว่า กระทำให้อาศัยพระนิพพาน. บทว่า เขมํ ได้แก่ ปราศจากอุปัทวันตราย. บทว่า อมตคามินํ ความว่า ให้ถึงพระนิพพาน อธิบายว่า บำเพ็ญอริยมรรค.

บทว่า อปฺปมาเท ปโมทิตา ความว่า บันเทิงทั่วในความไม่ประมาท กล่าวคือการไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า นิปกา ความว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 613

ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า สีลสํวุตา ความว่า สังวร คือปิดกั้นไว้ด้วยศีล. บทว่า เต เว กาเลน ปจฺจนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ (เหตุที่ดับทุกข์) ตามกาลที่เหมาะสม. บทว่า ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌติ มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมรู้ฐานะ เป็นที่ดับวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้น คืออมตมหานิพพาน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อนุตริยะ ๖ คละกันไป ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา อนุตตริยสูตรที่ ๑๐

จบอนุตตริยวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร ๓. ภยสูตร ๔. หิมวันตสูตร ๕. อนุสสติฐานสูตร ๖. กัจจานสูตร ๗. ปฐมสมยสูตร ๘. ทุติยสมยสูตร ๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร และอรรถกถา.