พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. วิวาทมูลสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39383
อ่าน  456

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 624

ปฐมปัณณาสก์

เสขปริหานิยวรรคที่ ๔

๖. วิวาทมูลสูตร

ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 624

๖. วิวาทมูลสูตร

ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา... แม้ในพระธรรม... แม้ในพระสงฆ์ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระศาสดา... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อสิ่งไม่เป็นสุขแก่ชน หมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพึง พิจารณาเห็น ซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาท เห็นบาปนั้น ในภายใน หรือภายนอกไซร้ เธอทั้งหลาย พึงพยายามเพื่อละมูลเหตุ แห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นเสีย ถ้าเธอทั้งหลาย ไม่พึงพิจารณาเห็น ซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาท เห็นบาปนั้น ในภายในหรือ ภายนอกไซร้ เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มูลเหตุ แห่งการวิวาท เห็นบาปนั้น ครอบงำต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้น (และ) มูลเหตุ แห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ไม่ครอบงำต่อไป ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด เป็นผู้มีความถือมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละความเห็นของตนได้ยาก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 625

ภิกษุใด เป็นผู้ถือมั่นทิฏฐิของตน ถือรั้น สละความเห็นของตนได้ยาก ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา... แม้ในพระธรรม... แม้ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ แม้ในสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ฯลฯ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมก่อการวิวาท ให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่ชนหมู่มาก เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลาย พึงพิจารณาเห็นมูลเหตุ แห่งการวิวาทเห็นบาปนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้ เธอทั้งหลายพึงพยายาม เพื่อละเหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้นเสีย ถ้าเธอทั้งหลาย ไม่พึงพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งการวิวาท เห็นบาปนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้ เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มูลเหตุ แห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ครอบงำต่อไป การละมูลเหตุ แห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น (และ) มูลเหตุแห่งการวิวาท ที่เป็นบาปนั้น ไม่ครอบงำต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ นี้แล.

จบวิวาทมูลสูตร ๖

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 626

อรรถกถาวิวาทมูลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในวิวาทมูลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

มูลเหตุของการวิวาท ชื่อว่า วิวาทมูล. ผู้ที่ประกอบด้วยความโกรธ มีความเคืองเป็นลักษณะ ชื่อว่า โกธนะ (ผู้มักโกรธ) ผู้ประกอบด้วยการผูกโกรธ มีการไม่สลัดเวรเป็นลักษณะ ชื่อว่า อุปนาหี (ผูกโกรธ). บทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสานํ ความว่า การวิวาทของภิกษุ ๒ รูป ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

ถามว่า เป็นไปได้อย่างไร? ตอบว่า (เป็นไปได้อย่างนี้ คือ) เมื่อภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน อันเตวาสิกของท่านทั้งสองนั้น ในวัดนั้นก็จะวิวาทกัน ภิกษุณี สงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านี้ ก็จะวิวาทกัน เหมือนในคัมภีร์โกสัมพีขันธกะ ต่อจากนั้น อุปัฏฐากของท่านเหล่านั้น ก็จะวิวาทกัน ต่อมาอารักขเทวดาของมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะแยกกันเป็นสองฝ่าย อารักขเทวดาของฝ่ายพระธรรมวาที ก็จะเป็นเช่นนั้น คือ เป็นข้างฝ่ายพระธรรมวาที ของฝ่ายพวกอธรรมวาที ก็จะเป็นพวกอธรรมวาที. ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตร ของอารักขเทวดาทั้งหลาย ก็จะแตกกัน. แต่ (ถ้า) ฝ่ายอธรรมวาที มีจำนวนมากกว่า ฝ่ายธรรมวาที ต่อแต่นั้น เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะยึดเอาสิ่งที่คนจำนวนมากยึดถือ จะพากันละทิ้งธรรม ยึดเอาอธรรมเป็นจำนวนมาก ทีเดียว. เทวดา และมนุษย์เหล่านั้น เมื่ออยู่อย่างยึดเอาอธรรมเป็นหลัก ก็จักเกิดในอบาย การวิวาทของภิกษุทั้งสองรูป ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนา ฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 627

บทว่า อชฺฌตฺตํ วา ได้แก่ บริษัทภายในของท่านทั้งหลาย. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ บริษัทของคนเหล่าอื่น. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการลบหลู่ ที่มีการลบล้างคุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า มักขี. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการตีเสมอ มีการจักคู่เป็นลักษณะ ชื่อว่า ปฬาสี (ตีเสมอ). ผู้ที่ประกอบไปด้วยความริษยา ที่มีความริษยาในสักการะเป็นต้น ของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า อิสฺสุกี (ริษยา).

ผู้ที่ประกอบไปด้วยความตระหนี่ทั้งหลาย มีความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น ชื่อว่า มัจฉรี (ผู้ตระหนี่) ผู้ที่โอ้อวด ชื่อว่า สฐะ ผู้ที่ปกปิดสิ่งที่ทำไว้แล้ว ชื่อว่า มายาวี. ผู้ทุศีล ผู้ปรารถนาความยกย่องที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ (ปรารถนาลามก).

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ นัตถิกวาทีบุคคล อเหตุกวาทีบุคคล อกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี ได้แก่ ผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน นั่นแล. บทว่า อาธานคฺคาหี ได้แก่ ผู้ยึดมั่น. บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาจจะละทิฏฐิ ที่ตนยึดแล้ว. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียวเท่านั้น.

จบอรรถกถา วิวาทมูลสูตรที่ ๖