พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. มิคสาลาสูตร ว่าด้วยบุคคล ๖ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39391
อ่าน  445

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 656

ปฐมปัณณาสก์

ธรรมิกวรรคที่ ๕

๒. มิคสาลาสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 656

๒. มิคสาลาสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก

[๓๑๕] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ ครั้งนั้น อุบาสิกา ชื่อ มิคสาลาเข้าไปหา ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน คือ คนหนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชน จะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉัน ชื่อ ปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมชองชาวบ้าน ท่านทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 657

บุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน ในสัมปรายภพ อันวิญญูชน จะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ไว้ อย่างนั้นแล.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาต ที่นิเวศน์ของอุบาสิกา ชื่อ มิคสาสา แล้ว ลุกจากอาสนะกลับไป ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ ลำดับนั้น อุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา เข้าไปหาข้าพระองค์ ถึงที่อยู่ กราบไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชน พึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉัน ชื่อ ปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 658

๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน อันวิญญูชน พึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่ออุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะอุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา ดังนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ อย่างนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็อุบาสิกา ชื่อ มิคสาลา เป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธะเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ ความยิ่ง และหย่อน แห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๖ จำพวก เป็นไฉน? ดูก่อนอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่ง ด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้ว ย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่ง ด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้ว ย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ดูก่อนอานนท์ พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมของชนแม้นี้ ก็เหล่านั้นแหละ. ธรรมของชนแม้อื่น ก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉน บรรดา คน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคน ผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 659

อานนท์ ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย ดูก่อนอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่า บุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรม ย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่า นอกจากตถาคต จะพึงรู้เหตุนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธ และความถือตัวบางครั้งบางคราว โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธ และความถือตัว บางครั้งบางคราว โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ฯลฯ

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธ และความถือตัว บางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 660

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธ และความถือตัว บางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ดูก่อนอานนท์ พวกคนที่ถือประมาณ ย่อมประมาณเรื่องนั้นว่า ธรรมของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉนบรรดาคน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคน ผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดมีความโกรธ และความถือตัว และบางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย บุคคลนี้เป็น ผู้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคล ที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรม ย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่านอกจากตถาคต จะพึงรู้เหตุนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลาย อย่าเป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลาย คุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้ ดูก่อนอานนท์ ก็อุบาสิกาชื่อ มิคสาลา เป็นพาลไม่ฉลาด เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธะเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง และหย่อน แห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะ ได้รู้แม้คติของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 661

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ก็หามิได้ อนึ่ง บุรุษชื่ออิสิทัตตะ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เช่นใด บุรุษชื่อปุราณะ ก็ได้เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา เช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อปุราณะ ก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้ง ๒ เลวกว่ากัน ด้วยองคคุณคนละอย่างด้วยประการ ฉะนี้.

จบมิคสาลาสูตรที่ ๒

อรรถกถามิคสาลาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในมิคสาลาสูตรที่ ๒ ดังต่อไป่นี้ :-

บทว่า กถํ กถํ นาม ความว่า ด้วยเหตุอะไรๆ. บทว่า อญฺเยฺโย แปลว่า (ธรรม) อันบุคคลพึงรู้ให้ทั่วถึง. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ ในธรรมชื่อใด. บทว่า สมสมคติกา ความว่า พรหมจารีบุคคล และอพรหมจารีบุคคล (ผู้มิใช่เป็นพรหมจารี) อันชนทั้งหลายรู้แล้วว่า จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน โดยภาวะที่เสมอกัน นั่นเอง. บทว่า สกทาคามี สตฺโต ตุสิตํ กายํ อุปปนฺโน ความว่า บังเกิดเป็นสกทาคามีบุคคล ในภพดุสิต นั่นเอง.

บทว่า กถํ กถํ นาม ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกา ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพรหมจารีบุคคล และอพรหมจารีบุคคลไว้) ด้วยเหตุอะไร หนอแล คือ พระองค์ทรงรู้จักแล้ว จึงแสดงไว้หรือว่า ไม่ทรงรู้จัก พระเถระ (อานนท์) ไม่ทราบเหตุจึงกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็แลข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้.

บทว่า อมฺพกา อมฺพกสญฺา ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกา) เป็นหญิง ยังประกอบด้วยความสำคัญอย่างหญิงอยู่นั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 662

ในบทว่า เก จ ปุริสปุคฺคลปโรปริยาเณ นี้ มีความย่อ ดังนี้ว่า ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ความหย่อน และยิ่ง แห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย ว่า แข็งกล้า ว่าอ่อน เรียกว่า ปุริสปุคคลปโรปริยญาณ ในคำว่า เก จ ปุริสปุคฺคลปโรปริยาเณ นี้. เพราะเหตุนั้น มิคสาลาอุบาสิกาหญิงโง่ คือใคร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีอารมณ์ไม่ถูกขัดขวาง ในเพราะญาณ เป็นเครื่องรู้ความหย่อน และยิ่ง แห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย เป็นใคร การเปรียบเทียบ (บุคคล) ทั้งสองนั้น ยังอยู่ห่างไกลกันมาก.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มิคสาลาอุบาสิกา กับพระองค์ห่างไกลกันมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส คำว่า ฉ อิเม อานนฺท เป็นต้น. บทว่า โสรโต โหติ ความว่า (บุคคลบางคน) เป็นผู้งด คือ เว้นด้วยดีจากบาป. ปาฐะ เป็นสูรโต ดังนี้ก็มี.

บทว่า อภินนฺทนฺติ สพฺรหฺมจารี เอกตฺตวาเสน ความว่า พรหมจารีบุคคลทั้งหลาย ต่างพากันชื่นชม คือ ยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน กับบุคคลนั้น. ปาฐะ เป็น เอกนฺตวาเสน ดังนี้ก็มี. หมายความว่า ด้วยการอยู่ใกล้ชิดกัน.

บทว่า สวเนนปิ อกตํ โหติ ความว่า มิได้ฟังสิ่งที่ควรฟัง. ในบทว่า พาหุสจฺเจนปิ อกตํ โหติ นี้มีความว่า วิริยะเรียกว่า พาหุสัจจะ มิได้ทำสิ่งที่ควรทำด้วยวิริยะ. บทว่า ทิฏฺิยาปิ อปฺปฏิวิทฺธํ โหติ ความว่า มิได้แทงตลอดสิ่งที่ควรแทงตลอดด้วยทิฏฐิ.

บทว่า สามายิกมฺปิ วิมุตฺตึ น ลภติ ความว่า ไม่ได้ปีติ และปราโมทย์ (ที่เกิดขึ้น) เพราะอาศัยการฟังธรรมตามกาล อันสมควร. บทว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 663

หานคามีเยว โหติ ความว่า ย่อมถึงความเสื่อมถ่ายเดียว. บทว่า ปมาณิกา คือ เป็นผู้ถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย.

บทว่า ปมินนฺติได้แก่ เริ่มที่จะเปรียบเทียบ คือ ชั่ง. บทว่า เอโก หีโน ความว่า คนหนึ่งต่ำกว่าโดยคุณ (มีคุณต่ำกว่า). บทว่า เอโก ปณีโต ความว่า คนหนึ่งประณีตกว่าโดยคุณ (มีคุณสูงกว่า). บทว่า ตญฺหิ ได้แก่ การทำการเปรียบเทียบนั้น.

บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือ อุดมกว่า. บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณเป็นไปอย่างกล้าแข็ง นำออกไป (จากกิเลส) คือให้ถึงอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตรํ โก ชาเนยฺย ความว่า ช่วงติดต่อนั้น คือ เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตแล้ว ใครเล่าจะรู้?

บทว่า โกธมาโน ได้แก่ ความโกรธ และความถือตัว. บทว่า โลภธมฺมา ได้แก่ ความโลภ นั่นเอง. บทว่า วจีสํขารา ได้แก่ การพูด ด้วยอำนาจ การสนทนาปราศรัย.

บทว่า โย วา ปนสฺส มาทิโส ความว่า ก็หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใด ที่เหมือนกับเราตถาคต จะพึงมีอีกพระองค์หนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็จะพึงถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย. บทว่า ขญฺติ ได้แก่ ถึงการขุดคุณ.

บทว่า อิเม โข อานนฺท ฉ ปุคฺคลา ความว่า บุคคล ๖ บุคคล เหล่านี้ คือ บุคคลผู้สงบเสงี่ยม ๒ จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัว และธรรมคือความโลภได้ ๒ จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัว และวจีสังขารได้ ๒ จำพวก.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 664

บทว่า คตึ ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า เอกงฺคหีนา ความว่า (บุคคลทั้ง ๒ จำพวก คือ ปุราณะ กับ อิสิทัตตะ) ต่ำกว่ากัน โดยองค์คุณคนละอย่าง. (คือ) ปุราณะวิเศษโดยศีล (สูงกว่าโดยศีล) อิสิทัตตะวิเศษโดยปัญญา (สูงกว่าโดยปัญญา) ศีลของปุราณะตั้งอยู่ในฐานะ เสมอกับปัญญาของอิสิทัตตะ ปัญญาของอิสิทัตตะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับศีลของปุราณะ แล.

จบอรรถกถา มิคสาลาสูตรที่ ๒