๓. อิณสูตร ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 664
ปฐมปัณณาสก์
ธรรมิกวรรคที่ ๕
๓. อิณสูตร
ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 664
๓. อิณสูตร
ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม
[๓๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนจน เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม ก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้ว ย่อมรับใช้ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ ของผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวง ก็เป็นทุกข์ของบุคล ผู้บริโภคกามในโลก.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 665
ภิ อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตาม ก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ไม่ให้ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก.
ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจน ก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก แม้การกู้ยืม ก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก แม้การรับใช้ดอกเบี้ย ก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคล ผู้บริโภคกามในโลก ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เรากล่าว การประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 666
ความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่น อย่ารู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยาบาทด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิด วจีทุจริตนั้น ฯลฯ เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิด มโนทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา... ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุ การปกปิดทุจริตของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้ เรากล่าว การถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาป ประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าว การถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้ นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือในเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณา เห็นเรือนจำอื่น เพียงแห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจเป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย.
ความเป็นคนจน และการกู้ยืม เรียกว่า เป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมติดตามเขา เพราะไม่ใช่หนี้นั้น เขาย่อม เข้าถึงแม้การจองจำ ก็การจองจำนั้น เป็นทุกข์ของชนทั้งหลาย ผู้ปรารถนาการได้กาม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 667
ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่บ่อยๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน ลำดับนั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้น เพราะความเดือดร้อนของเขา ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือ ถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้.
บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทาน ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มาโดยชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ ในโลกทั้งสองของผู้มีศรัทธา อยู่ครองเรือน คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ การบริจาคของคฤหัสถ์ดัง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 668
กล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และสำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแล เราเรียกว่า มีชีวิตเป็นสุข ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่น ละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขา ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุในนิพพาน เป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่นโดยประการทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเรา ไม่กำเริบไซร้ ญาณนั้นแล เป็นญาณชั้นเยี่ยม ญาณนั้น เป็นสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดมัวหมอง เป็นญาณเกษม สูงสุดกว่าความไม่มีหนี้.
จบอิณสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 669
อรรถกถาอิณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอิณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ ที่เป็นของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณํ อาทิยติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ ก็กู้หนี้ยืมสิน.
บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ นํ ความว่า (เจ้าหนี้ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการ อันแปลกประหลาด ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท และท่ามกลางคณะเป็นต้น.
บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธา คือ การปลงใจเชื่อ. บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการ ที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺปํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.
บทว่า วิริยํ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียร ที่เป็นไปทางกาย. บทว่า ปญฺา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา. บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึง การกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า มา มํ ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลาย อย่าพบตัวเรา.
บทว่า ทาลิทฺทิยํ ทุกขํ ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชฺปินํ ได้แก่ ผู้ปรารภนาการได้กาม. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 670
ปาปกมฺมํ วินิพฺพโย ได้แก่ ผู้ก่อบาปกรรม. บทว่า สํสปฺปติ ได้แก่ ดิ้นรน. บทว่า ชานํ ได้แก่ รู้อยู่.
บทว่า ยสฺส วิปฺปฏิสารชา ความว่า ความดำริเหล่าใด ของบุคคลผู้ยากจนนั้น เกิดมาจากความเดือดร้อน. บทว่า โยนิมญฺตรํ ได้แก่ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน กำเนิดหนึ่ง. บทว่า ททํ จิตฺตํ ปสาทยํ ความว่า ทำจิตให้เลื่อมใส.
บทว่า กฏคฺคาโห ได้แก่ การได้ชัยชนะ คือ การได้ที่ไม่ผิดพลาด มีอยู่. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหา หรือ อยู่ครองเรือน. บทว่า จาโค ปุญฺํ ปวฑฺฒติ ความว่า บุญที่เป็นไปในสงฆ์ คือ จาคะย่อมเจริญ. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า จาคํ ปุญฺํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปติฏิตา ความว่า ศรัทธาของพระโสดาบัน ชื่อว่า ศรัทธาที่ตั้งมั่น. บทว่า หิริมโน ได้แก่ จิตสัมปยุตด้วยหิริ. บทว่า นิรามิสํ สุขํ ได้แก่ สุขที่อาศัยฌาน ๓ เกิดขึ้น.
บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน. บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ มีความเพียรประคับประคองไว้เต็มที่. บทว่า ฌานานิ อุปสมฺปชฺช ได้แก่ บรรลุฌาน ๔. บทว่า เอโกทิ นิปโก สโต ได้แก่ มีจิตเป็นเอกัคคตา และประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ และสติ.
บทว่า เอตํ ตฺวา ยถาภูตํ ความว่า รู้จักเหตุนี้ คือเท่านี้ ตามสภาพที่เป็นจริง. บทว่า สพฺพสํโยชนกฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง. บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือ.
ในบทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ มีคำอธิบายดังนี้ว่า เพราะไม่ยึดถือโดยประการทั้งปวง ในนิพพาน กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง. มรรคจิตจึงหลุดพ้นโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย. พระสังคีติกา-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 671
จารย์เขียนบาลีเป็น เอวํ ตฺวา ยถาภูตํ สพฺพสํโยชนกฺขยํ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้น มีความหมายว่า รู้นิพพาน กล่าวคือธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด นั่นตามเป็นจริง. แต่ว่าความหมายบาลี บทหน้า กับบทหลัง ไม่เชื่อมต่อกันเลย.
บทว่า ตสฺส สมฺมาวิมุตฺตสฺส ความว่า พระขีณาสพนั้น คือ ผู้หลุดพ้นโดยชอบ. บทว่า าณํ เจ โหติ ได้แก่ มีปัจจเวกขณญาณ. บทว่า ตาทิโน ได้แก่ ผู้ดำรงมั่นอยู่ในนิพพานนั้น. บทว่า อกุปฺปา ความว่า (วิมุตติ) ชื่อว่า ไม่กำเริบ เพราะมีธรรมไม่กำเริบ เป็นอารมณ์ และเพราะไม่มีกิเลส เครื่องทำให้กำเริบ.
บทว่า วิมุตฺติ หมายถึง ทั้งมรรควิมุตติ ทั้งผลวิมุตติ. บทว่า ภวสํโยชนกฺขเย ความว่า เพราะเกิดขึ้นในนิพพาน กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ และเพราะเกิดขึ้นในที่สุด ที่กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ ในภพสิ้นไป. บทว่า เอตํ โข ปรมํ าณํ ความว่า มรรคญาณ และผลญาณนั่น ชื่อว่า บรมญาณ (ญาณอันยอดเยี่ยม).
บทว่า สุขมนุตฺตรํ ความว่า สุขเกิดแต่มรรค และผล นั้นแล ชื่อว่า อนุตรสุข (สุขอันยอดเยี่ยม). บทว่า อานณฺยมุตฺตมํ ความว่า บรรดาคนที่ไม่มีหนี้ทั้งหมด พระขีณาสพผู้ไม่มีหนี้เป็นผู้สูงสุด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงรวมยอดใจความสำคัญของเทศนา ด้วยอรหัตตผลว่า อรหัตตผล เป็นญาณไม่มีหนี้อันสูงสุด.
และในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส วัฏฏะไว้ก่อน แล้วจึงได้ตรัส ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ ในคาถาทั้งหลายแล.
จบอรรถกถา อิณสูตรที่ ๓