พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. อัปปมาทสูตร ว่าด้วยธรรมที่ให้สําเร็จประโยชน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39400
อ่าน  444

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 691

ปฐมปัณณาสก์

ธรรมิกวรรคที่ ๕

๑๑. อัปปมาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ให้สําเร็จประโยชน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 691

๑๑. อัปปมาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ให้สำเร็จประโยชน์

[๓๒๔] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ มีอยู่ หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่.

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ เป็นไฉน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 692

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน รอยเท้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเยี่ยมกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน กลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด กลอนเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมโน้มน้อม รวมเข้าหายอดเรือน ยอดเรือนชาวโลกกล่าวว่า เป็นเยี่ยม (ที่รวม) แห่งกลอนเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว... ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน บุรุษผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้ว จับที่ยอด ถือคว่ำลงสลัดฟาดที่ต้นไม้ ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว... ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน เมื่อพวงผลมะม่วง ถูกตัดที่ต้นขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่ง ที่ติดอยู่กับต้นขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมเป็นของติดไปกับต้นขั้ว ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว... ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน พระราชาผู้ครองประเทศเล็ก พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระราชาเหล่านั้น ทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเยี่ยมกว่า พระราชาเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว... ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน แสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่ง แห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมไม่ถึงส่วนที่สิบหก แห่งแสงสว่างพระจันทร์ แสงสว่างพระจันทร์ ชาวโลกกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 693

เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่าง แห่งดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท นี้แล.

พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบอัปปมาทสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอัปปมาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอัปปมาทสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมธิคฺคยฺห แปลว่า ยึดถือไว้ได้ด้วยดี. บทว่า ชงฺคลานํ ปาทานํ ได้แก่ สัตว์มีเท้าที่มีปกติ ท่องเที่ยวไป บนพื้นปฐพี. บทว่า ปทชาตานิ ได้แก่ รอยเท้า. บทว่า สโมธานํ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลง คือ ใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ ได้แก่ ที่ชาวโลกกล่าวว่า ประเสริฐที่สุด.

บทว่า ปพฺพชลายโก ได้แก่ คนเกี่ยวแฝก. บทว่า โอธุนาติ ได้แก่ จับยอดกระแทกลง. บทว่า นิธุนาติ ได้แก่ แกว่งไปทางข้างทั้งสอง. บทว่า นิจฺฉาเทติ ได้แก่ ฟาดที่แขน หรือที่ต้นไม้. บทว่า อมฺพปิณฺฑิยา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 694

ได้แก่ พวงผลมะม่วง. บทว่า วณฺโฏปนิพนฺธนานิ ได้แก่ ติดอยู่ที่ขั้ว หรือห้อยอยู่ที่ขั้ว.

บทว่า ตทนฺวยานิ ภวนฺติ ได้แก่ ย่อม (หล่น) ไปตามขั้ว. หมายความว่า ย่อม (หล่น) ไปตามขั้วของผล พวงมะม่วง (ที่หล่นไป). บทว่า ขุทฺทราชาโน ได้แก่ พระราชาเล็ก (น้อยศักดิ์) หรือ พระราชาธรรมดา.

จบอรรถกถา อัปปมาทสูตรที่ ๑๑