พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ฉฬาภิชาติยสูตร ว่าด้วยบัญญัติชาติ ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39404
อ่าน  487

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 722

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๓. ฉฬาภิชาติยสูตร

ว่าด้วยบัญญัติชาติ ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 722

๓. ฉฬาภิชาติยสูตร

ว่าด้วยบัญญัติชาติ ๖ ประการ

[๓๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 723

ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการ คือ บัญญัติ ชาติดำ ๑ ชาติเขียว ๑ ชาติแดง ๑ ชาติเหลือง ๑ ชาติขาว ๑ ชาติขาวจัด ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติคนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก พรานเนื้อ ชาวประมง โจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ ก็หรือคนที่ทำงานหยาบช้าอื่นใด ว่าเป็นชาติดำ บัญญัติพวกภิกษุ พวกผู้เชื่อไปในฝ่ายดำ หรือพวกกรรมวาท กิริยาวาทอื่นใด ว่าเป็นชาติเขียว บัญญัติพวกนิครนถ์ ใช้ผ้าผืนเดียวว่าเป็นชาติแดง บัญญัติคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว สาวกของอเจลก (นักบวชเปลือยกาย) ว่าเป็นชาติเหลือง บัญญัติอาชีวก อาชีวีกา ว่าเป็นชาติขาว บัญญัติเจ้าลัทธิ ชื่อนันทวัจฉโคตร ชื่อกัจจสังกิจจโคตร มักขลิโคสาล ว่าเป็นชาติขาวจัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ นี้นั้น โลกทั้งปวง เห็นด้วยหรือ.

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย บังคับให้บุรุษผู้ยากจน ขัดสน เข็ญใจ ผู้ไม่ปรารถนา ให้รับส่วนเนื้อว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงกินเนื้อนี้ และต้องใช้ราคาเนื้อ ฉันใด ปูรณกัสสปก็ฉันนั้น เหมือนกัน บัญญัติชาติ ๖ แห่งสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยที่โลกไม่รับรอง เหมือนดังคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่รู้เขตบัญญัติ ไม่ฉลาด ดูก่อนอานนท์ ก็เราแล จะบัญญัติชาติ ๖ ประการ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ชาติ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 724

ธรรมดำ ๑ บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติดำ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว ๑ บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมดำ ๑ บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติขาว บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว ๑.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่างจักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยากเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหาร และเครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้น เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าวน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป เขายังประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประพฤติธรรมดำ อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า สกุลช่างจักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยากเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำ โภชนะน้อย เป็นผู้ฝืดเคือง ได้อาหาร และเครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้น เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว อย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 725

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ ฯลฯ มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ เขาปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวช เป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ซึ่งทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดี ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพาน อันไม่ดำไม่ขาว ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติดำ บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล สกุลคฤหบดีมหาศาล ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินมาก มีอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์ คือ ข้าวเปลือกมาก และเขาผู้นั้น เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่ง ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป เขาประพฤติทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประพฤติธรรมดำ อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว อย่างนี้แล.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 726

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดี ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำ ไม่ขาว อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ชาติ ๖ นี้แล.

จบฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓

อรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ฉฬาภิชาติโย ได้แก่ ชาติทั้ง ๖ ประการ ตตฺริทํ คือ ตตฺรายํ บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า ภิกฺขู กณฺหาธิมุตฺติกา ความว่า ธรรมดาว่า สมณะเหล่านี้. บทว่า เอกสาฎกา ได้แก่ (นิครนถ์ทั้งหลาย) ปิดข้างหน้า ด้วยผ้าชิ้นเดียว เท่านั้น. บทว่า อกามกสฺส พิลํ โอลเภยฺยุํ ความว่า เมื่อหมู่เกวียนกำลังเคลื่อนขบวนไป เมื่อโค (ตัวหนึ่ง) ตายลง ชาวนาทั้งหลาย ก็พึงชำแหละเนื้อโคกัน เพื่อต้องการตั้งราคาแล้วเคี้ยวกิน พลางจัดสรรปันส่วน ให้แก่ชาวนาคนหนึ่ง ผู้ไม่ปรารถนาเนื้อโคเลย พร้อม กล่าวว่า เธอต้องกินส่วนนี้ และต้องให้ราคาด้วย ดังนี้แล้ว มอบชิ้นเนื้อ กล่าวคือส่วนนั้นให้ อธิบายว่า พึงวางไว้ในมือโดยพลการ. บทว่า อเขตฺตญฺญุนา ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักเขต ด้วยการบัญญัติอภิชาติ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 727

บทว่า ตํ สุณาหิ ความว่า ขอเธอจงฟัง การบัญญัติของเรา ตถาคตนั้น. บทว่า กณฺหํ ธมฺมํ อภิชายติ ความว่า เกิด คือบังเกิด เป็นสภาพดำ หรือ เกิดในกำเนิดดำ. บทว่า นิพฺพานํ อภิชายติ ได้แก่ บรรลุนิพพาน หรือ เกิดในนิพพานชาติ กล่าวคืออริยภูมิ.

จบอรรถกถา ฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓