พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อาสวสูตร ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39405
อ่าน  421

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 727

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๔. อาสวสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 727

๔. อาสวสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุ ผู้เป็นนาบุญ

[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการ เป็นไฉน? คือ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงละด้วยการสำรวม อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการสำรวม ๑ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุ พึงละด้วยการซ่องเสพ อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการซ่องเสพ ๑ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุพึงละด้วยการอดทน อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการอดทน ๑ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละ ด้วยการหลีกเลี่ยง อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการหลีกเลี่ยง ๑ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุพึงละ ด้วยการบรรเทา อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการบรรเทา ๑ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุพึงละ ด้วยภาวนา อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยภาวนา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละ ด้วยการสำรวม ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการสำรวมเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 728

โดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ด้วยการสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวม พึงเป็นเหตุให้อาสวะ ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวม อยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ด้วยการสำรวม โสตินทรีย์... ฆานินทรีย์... ชิวหินทรีย์... กายินทรีย์... ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวม ด้วยการสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวม พึงเป็นเหตุให้อาสวะ ที่ความคับแค้น และความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละ ด้วยการสำรวม ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการสำรวม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะ อันภิกษุพึงละ ด้วยการซ่องเสพ ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการซ่องเสพเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย ย่อมเสพจีวร เพียงเพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเสพบิณฑบาต มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความเป็นไปแห่งกายนี้ เพื่อบรรเทาความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจะบรรเทาเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งร่างกาย จักมีแก่เรา ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายจักมีแก่เรา ด้วยการเสพ บิณฑบาตนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 729

หนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพียง เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิดจากฤดู และยินดีในการหลีกออกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเสพคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร เพียงเพื่อบรรเทาเวทนา ที่เกิดจากอาพาธต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มีความเจ็บไข้เป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่เสพอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเสพอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละ ด้วยการซ่องเสพ ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการซ่องเสพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละ ด้วยความอดกลั้น ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยความอดกลั้นเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ย่อมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ คำเสียดสี ย่อมเป็นผู้อดกลั้น ต่อทุกขเวทนาทางกาย ที่เกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ สามารถปลิดชีพไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่อดทนอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดทนอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละ ด้วยการอดทน ที่เป็นอันภิกษุละได้ แล้ว ด้วยการอดทน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะที่ภิกษุพึงละ ด้วยการหลีกเลี่ยง ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการหลีกเลี่ยงเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ที่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 730

หนาม หลุม ตลิ่งชัน บ่อโสโครก ท่อโสโครก พวกวิญญูชนที่เป็นสพรหมจารี พึงลงความเห็น เธอผู้นั่งในที่ไม่ควรนั่ง เที่ยวไปในที่ไม่ควรเที่ยวไป คบปาปมิตรเช่นใด ในฐานะที่เป็นบาป เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรเที่ยวไป และปาปมิตร เช่นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอไม่หลีกเลี่ยงฐานะดังกล่าวแล้ว อยู่อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอหลีกเลี่ยงอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละ ด้วยการหลีกเลี่ยง ที่เป็นอันภิกษุละได้ ด้วยการหลีกเลี่ยง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละ ด้วยการบรรเทา ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการบรรเทาเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไป ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไป ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว... ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว... ซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอไม่บรรเทาอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละด้วยการบรรเทา ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยการบรรเทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละได้ ด้วยภาวนา ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยภาวนาเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 731

นิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์... ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่เจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น และความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละ ด้วยภาวนา ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้ว ด้วยภาวนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบอาสวสูตรที่ ๔

อรรถกถาอาสวสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอาสวสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สํวรา ปหาตพฺพา ได้แก่ (อาสวะทั้งหลาย) พึงละได้ด้วยสังวร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล. บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนานี้. บทว่า ปฏิสงฺขา คือ ใคร่ครวญ ได้แก่ ทราบ อธิบายว่าพิจารณา. บทว่า โยนิโส คือ โดยอุบาย ได้แก่ โดยครรลอง. อนึ่ง ในสูตรนี้ การพิจารณาโทษในอสังวร พึงทราบว่า เป็นการพิจารณาโดยแยบคาย ก็การพิจารณานี้นั้น พึงทราบตามอาทิตตปริยายสูตร มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 732

จักขุนทรีย์ถูกซี่เหล็ก ที่ร้อนไฟติดลุกโชนโชติช่วง ทิ่มเอา ยังดีกว่า แต่การถือนิมิต ในรูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ โดยอนุพยัญชนะ ไม่ประเสริฐเลย.

ในบทว่า จกฺขุนฺทริยสํวรสํวุโต วิหรติ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ อินทรีย์คือจักษุ ชื่อว่า จักขุนทรีย์. ที่ชื่อว่า สังวร เพราะระวัง มีคำอธิบายว่า เพราะปิด คือ เพราะกั้น. คำว่า สังวร นั่นเป็นชื่อของสติ. สังวรในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า จักขุนทรีย์สังวร ก็จักขุนทรีย์สังวรนี้ แม้เมื่อชวนจิตเกิดขึ้น ก็เรียกว่า จักขุนทรียสังวร เพราะห้ามกิเลสทั้งหลาย มิให้เกิดขึ้น ในทวารนั้น. บทว่า สํวุโต ได้แก่ ประกอบด้วยสังวรนั้น ความจริง เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ ฯเปฯ สมนฺนาคโต ดังนี้ ไว้ในวิภังค์นี้ว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สํวริ แปลว่า ระวังแล้ว มีคำอธิบายว่า กั้นแล้ว คือ ปิดแล้ว. บทว่า จกฺขุนฺทฺริยสํวรสํวุโต ความว่า ระวัง มีคำอธิบายว่า กั้น คือ ปิด บานประตูคือสติ กล่าวคือ จักขุนทรียสังวร ที่จักขุทวาร เหมือนปิดประตู ที่ประตูเรือน ฉะนั้น.

ความหมายดังว่า มานี้แล ในสูตรนี้ดีกว่า. จริงอย่างนั้น ความหมาย นี้แล ปรากฏในบทเหล่านี้ คือ จกฺขุนฺทฺริยสํวรํ อสํวุตสฺส วิหรโต สํวุตสฺส วิหรโต (ผู้ไม่สำรวม ซึ่งสังวรอินทรีย์ คือ จักษุอยู่ ผู้สำรวมซึ่งสังวรอินทรีย์ คือจักษุอยู่) ในบทว่า ยญฺหิสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุนั้นไม่สำรวม คือ ไม่กั้น ไม่ปิด จักขุนทรียสังวรใดอยู่. อีกอย่างหนึ่ง เย อักษรอาเทสเป็น ยํ ก็ได้ ความหมายเท่ากับ เย อสฺส.

บทว่า อาสวา วิฆาตปริฬาหา ความ อาสวะ ๔ อย่าง และ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 733

ความเร่าร้อนเพราะกิเลส หรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก ที่ทำความคับแค้น ให้เหล่าอื่น. อธิบายว่า เมื่อภิกษุยินดี คือ เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ ที่มาสู่ครองในจักษุทวาร ด้วยอำนาจความพอใจในกาม กามาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุยินดี ด้วยความปรารถนาภพว่า เราจักได้อิฏฐารมณ์เช่นนี้ แม้ในสุคติภพอื่น ภวาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุยึดถือว่า สัตว์ หรือว่า ของสัตว์ ทิฏฐาสวะ ย่อมเกิดขึ้น. ความไม่รู้ที่เกิดพร้อมกับอาสวะทั้งหมด ทีเดียว ชื่อว่า อวิชชาสวะ. อาสวะ ๔ เกิดขึ้น ดังว่ามานี้แล. กิเลสเหล่าอื่น ที่สัมปยุต ด้วยอาสวะเหล่านั้น ซึ่งมีความเร่าร้อน อันเกิดจากความคับแค้น หรือวิบากของกิเลสเหล่านั้น ในอนาคต ท่านกล่าวว่า พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ไม่สำรวมจากอาสวะ แม้เหล่านั้นอยู่. บทว่า เอวํส เต ตัดบทเป็น เอวํ อสฺส เต มีคำ อธิบายว่า ไม่มีโดยอุบายนี้ ไม่มีโดยประการอื่น.

แม้ในบทว่า ปฏิสงฺขาโยนิโส โสตินฺทฺริยสํวรสํวุโต เป็นต้น ก็มีนัยความหมายอย่างเดียวกัน นี้แล. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ อาสวา สํวรา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ ๒๔ อย่าง โดยแยกเป็นอย่างละ ๔ ในทวารทั้ง ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละได้ ด้วยสังวร คำใดที่จะพึงกล่าวไว้ในบทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวรํ เป็นต้น คำนั้นทั้งหมด ได้กล่าว ไว้แล้วแล ในศีลกถา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า ก็เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ไม่เสพปัจจัย) ในบรรดาปัจจัยมีจีวร และบิณฑบาต เป็นต้น ก็ดี. บทว่า อปฺปฏิเสวโต ได้แก่ ไม่เสพโดยอุบายอันแยบคายอย่างนี้. ในที่นี้ เมื่อภิกษุปรารถนาปัจจัย มีจีวร เป็นต้น ที่ยังไม่ได้ หรือยินดีปัจจัย มีจีวร เป็นต้นนั้น ที่ได้แล้ว พึงทราบว่า กามาสวะเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุยินดีด้วยการปรารถนาภพว่า เราจักได้ปัจจัย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 734

เช่นนี้ ในสุคติภพแม้อื่น พึงทราบว่า ภวาสวะเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุตั้งอัตตสัญญา (ความสำคัญว่า เป็นตัวตน) ว่าเราได้ เราไม่ได้ หรือว่าจีวรนี้ของเรา พึงทราบว่า ทิฏฐาสวะเกิดขึ้น. ส่วน อวิชชาสวะ เกิดพร้อมกับอาสวะอื่นทั้งหมด การเกิดขึ้นของอาสวะ ๔ เป็นความคับแค้น และความเร่าร้อน ดังพรรณนามา นี้แล พึงทราบอาสวะแม้โดยการทำเวทนาใหม่ ให้เกิดขึ้น.

บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ ๑๖ อย่างเหล่านี้ โดยแยกออกเป็นอย่างละ ๔ ในแต่ละปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละ ด้วยการพิจารณาแล้วเสพ ที่เรียกว่า ญาณสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ขโม โหติ สีตสฺส ความว่า ภิกษุพิจารณาโดยอุบาย คือโดยครรลองแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความหนาว คือ ย่อมข่ม ย่อมอดกลั้น ซึ่งความหนาว ได้แก่ ไม่สั่นสะท้าน คือ ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐาน เพราะความหนาว แม้เพียงเล็กน้อย เหมือนคนขี้ขลาด. แม้ในความร้อน เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. ก็ในที่นี้ คำพูด นั่นแล พึงทราบว่า เป็นทางแห่งคำพูด.

ในบทว่า ทุกฺขานํ เป็นต้น มีอธิบายว่า เวทนา พึงทราบว่าเป็นทุกข์ เพราะหมายความว่า ทนได้ยาก เป็นเวทนากล้า เพราะหมายความว่า มาก เป็นเวทนาแข็ง เพราะหมายความว่า หยาบ เป็นเวทนาเผ็ดร้อน เพราะหมายความว่า เจ็บแสบ เป็นเวทนาไม่สำราญ เพราะเว้นจากความน่ายินดี เป็นเวทนาไม่น่าชอบใจ เพราะไม่ทำใจให้เจริญ เป็นเวทนาคร่าชีวิต เพราะสามารถคร่าชีวิตได้. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้น ไม่-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 735

อดกลั้น) อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาความหนาวเป็นต้น. บทว่า อนธิวาสยโต คือ ไม่อดกลั้น ได้แก่ ไม่อดทน. ส่วนความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ ในอธิการนี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ เมื่อภิกษุกระทบหนาว ปรารถนาความอบอุ่น กามาสวะย่อมเกิดขึ้น ในที่ทุกแห่งก็อย่างนี้. เมื่อภิกษุปรารถนาภพว่า ในสุคติภพ ไม่มีหนาว หรือร้อน ภวาสวะย่อมเกิดขึ้น. การยึดถือว่า เราหนาว เราร้อน ดังนี้เป็นทิฏฐาสวะ (ส่วน) อวิชชาสวะ ประกอบพร้อมกับอาสวะ (ที่กล่าวมา) ทั้งหมดทีเดียว. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้ มีจำนวนมาก โดยแยกแต่ละอย่าง ในความหนาว เป็นต้น แยกออกเป็นอย่างละ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละ ด้วยความอดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑหตฺถึ ปริวชฺเชติ ความว่า ภิกษุพิจารณาโดยอุบาย คือ โดยครรลองอย่างนี้ว่า เราไม่ควรยืน ในที่ใกล้ช้างตัวดุร้าย เพราะว่าจะพึงมีความตายบ้าง ความทุกข์ปางตายบ้าง ซึ่งมีเหตุมาจาก การยืนในที่ใกล้นั้น ดังนี้แล้ว หลบหลีกช้างตัวดุร้าย คือ ถอยหนี. ในทุกบทก็มีนัย นี้แล. บทว่า จณฺฑํ ได้แก่ ร้าย คือ ดุ. บทว่า ขาณุํ ได้แก่ ตอไม้ตะเคียน เป็นต้น. บทว่า กณฺฎกฏฺานํ ได้แก่ โอกาสที่หนาม จะแทง. บทว่า โสพฺภํ ได้แก่ ที่ที่ขาดทาง (ขึ้นลง) ทุกด้าน. (โตรก). บทว่า ปปาตํ ได้แก่ สถานที่ที่ขาดทาง (ขึ้นลง) ไปข้างหนึ่ง. บทว่า จณฺฑนิกํ ได้แก่ สถานที่เป็นที่ทิ้งน้ำเสีย และครรภ์มลทิน เป็นต้น. บทว่า โอฬิคลฺลํ ได้แก่ สถานที่เป็นที่ไหลไปแห่งโคลน เป็นต้น เหล่านั้น นั่นแล. สถานที่นั้น ถึงจะลึกถึงเข่า ก็เป็นสถานที่เต็มไปด้วยของ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 736

ไม่สะอาด. และสถานที่ทั้ง ๒ แห่งนี้ เป็นสถานที่ที่มีอมนุษย์ชุกชุม เพราะฉะนั้น จึงต้องเว้น. ในบทว่า อนาสเน นี้มีอธิบายว่า อาสนะที่ไม่เหมาะสม ชื่อว่า อนาสนะ อาสนะนั้น โดยความหมาย พึงทราบว่า ได้แก่ อาสนะที่เก็บไว้ในที่ลับ อันเป็นสิ่งไม่แน่นอน. แม้ในบทนี้ว่า อโคจเร มีความว่า โคจรที่ไม่เหมาะสม ชื่อว่า อโคจร อโคจรนั้นมี ๕ อย่าง แยกออกเป็นหญิงแพศยา เป็นต้น. บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่ มิตรผู้ลามก คือ มิตรผู้ทุศีล ได้แก่ บุคคลเทียมมิตร คือ ผู้ไม่ใช่มิตร. บทว่า ปาปเกสุ ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า โอกปฺเปยฺยุํ คือ พึงเชื่อ ได้แก่ พึงน้อมใจเชื่อว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ได้ทำหรือจักทำ แน่แท้. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้น ไม่บรรเทา) อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแม้อย่างหนึ่ง ในบรรดาอันตราย มีช้าง เป็นต้น. ส่วนความเกิดขึ้น แห่งอาสวะ ในที่นี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ เมื่อภิกษุเผชิญทุกข์ มีช้างเป็นต้น เป็นเหตุ ปรารถนาสุข กามาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ ไม่มีในสุคติภพ ภามาสวะ ย่อมเกิดขึ้น การยึดถือว่า ช้างเหยียบเรา ดังนี้เป็น ทิฏฐาสวะ (ส่วน) อาสวะที่ประกอบพร้อมกับอาสวะ ชื่อว่า อวิชชาสวะทั้งหมด นั่นแหละ. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้ มีมากอย่าง โดยแยกแต่ละอย่างในบรรดาอันตราย มีช้าง เป็นต้น ด้วยอำนาจแยกออก เป็นอย่างละ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละ ด้วยการหลีกหนี กล่าวคือ ศีลสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษ ในกามวิตก โดยอุบายอันแยบคาย โดยนัย เป็นต้นว่า วิตกนี้ เป็นอกุศล แม้เพราะเหตุนี้ มีโทษ แม้เพราะเหตุนี้ มีผลเป็นทุกข์

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 737

แม้เพราะเหตุนี้ ก็วิตก นั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ดังนี้แล้ว ไม่ยับยั้งกามวิตก ที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นๆ อธิบายว่า ยกอารมณ์ขึ้นสู่จิตแล้ว บังคับไม่อยู่ หรือบังคับให้อยู่ ในภายในไม่ได้. ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยั้งไม่ได้ จะทำอย่างไร? ตอบว่า ละทิ้งเสีย. ถามว่า ละทิ้ง เหมือนเอาตะกร้าตักหยาก เยื่อทิ้งหรือ? ตอบว่า ไม่ใช่ โดยที่แท้แล้ว บรรเทา คือ เจาะแทง นำกามวิตกนั้นออก. ถามว่า แทงเหมือนเอาประตักแทง โคพลิพัทหรือ? ตอบว่า ไม่ใช่ โดยที่แท้แล้ว ทำมันให้สิ้นสุด คือ ทำมันให้ปราศจากไป เป็นที่สุด คือ แม้ที่สุดของกามวิตกนั้น จะไม่เหลือโดยที่สุด แม้เพียงภังคขณะ (ของจิต) โดยประการใด จะทำกามวิตกนั้น โดยประการนั้น.

ถามว่า ก็ภิกษุจะทำกามวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร? ตอบว่า ทำให้ถึงความไม่มีต่อไป คือ ให้ถึงความไม่มี ในภายหลัง ได้แก่ ทำโดยประการที่มันจะถูกข่มไว้ ด้วยดี ด้วยวิกขัมภนปหาน. แม้ในวิตก ๒ อย่างที่เหลือ ก็มีนัย นี้แล. บทว่า อปฺปนฺนุปฺปนฺเน ได้แก่ (วิตก) ที่เกิดขึ้นแล้วๆ มีคำอธิบายว่า ที่เพียงแต่เกิดขึ้นเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า บรรเทาวิตกที่เกิดขึ้น คราวเดียวแล้ว ไม่เพิกเฉยในครั้งที่ ๒ ได้แก่ บรรเทาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ทั้ง ๗ ครั้ง นั้นแล. บทว่า ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ได้แก่ วิตกทั้งหลาย มีกามวิตก เป็นต้น เหล่านั้น นั่นแล หรือ วิตกใหญ่ทั้งหมด ๙ ชนิด.

บรรดาวิตกทั้ง ๙ ชนิดนั้น วิตก ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว (ส่วน) วิตก ๖ อย่างที่เหลือเหล่านี้ คือ ญาติวิตก (วิตกถึงญาติ) ชนบทวิตก (วิตกถึงชนบท) อมรวิตก (วิตกถึงเทวดา) วิตกที่เกี่ยวเนื่อง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 738

ด้วยความเอ็นดูผู้อื่น วิตกที่เกี่ยวเนื่องด้วยลาภ สักการะ และคำสรรเสริญ วิตกที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยความไม่ดูหมิ่น. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้น ไม่บรรเทา) วิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิตกเหล่านี้. อนึ่ง ในที่นี้ กามวิตก ก็คือ กามาสวะนั่นเอง วิตกที่นอกไปจากกามวิตกนั้น จัดเป็นภวาสวะ วิตกที่สัมปยุต ด้วยภวาสวะนั้น จัดเป็นทิฏฐาสวะ อวิชชาในวิตกทั้งหมด จัดเป็นอวิชชาสวะ พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ ดังพรรณนา มานี้แล. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้ มีประการดังกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจกามวิตก เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละ ด้วยการบรรเทา กล่าวคือ วิริยะ ประกอบด้วยการพิจารณา เห็นโทษ ในวิตกนั้นๆ นี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษในการไม่มีภาวนา และอานิสงส์ ในภาวนาโดยอุบาย คือ โดยครรลองแล้วเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในทุกบท ก็มีนัยนี้. ก็การเจริญโพชฌงค์ทั้งหลายนี้ ได้อธิบายไว้พิสดารแล้ว ในตอนต้นแล. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า เมื่อภิกษุนั้น (ไม่เจริญ) โพชฌงค์ข้อใดข้อหนึ่ง ในบรรดาโพชฌงค์ เหล่านี้. ก็ในการเกิดอาสวะขึ้นในที่นี้ พึงทราบนัย ดังนี้ว่า อาสวะเหล่าใด มีกามาสวะ เป็นต้น ที่จะพึงเกิดขึ้น เพราะไม่ได้เจริญโพชฌงค์ทั้งหลาย ที่สัมปยุต ด้วยอริยมรรคเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่เธอผู้เจริญ (โพชฌงค์) อยู่อย่างนี้. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะทั้งหลายมีกามาสวะเป็นต้น เหล่านี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จะละได้ ด้วยการเจริญโพชฌงค์ ที่เป็นโลกุตตระนี้.

จบอรรถกถา อาสวสูตรที่ ๔