พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปรายนสูตร ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39408
อ่าน  461

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 749

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๗. ปรายนสูตร

ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 749

๗. ปรายนสูตร

ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้น ในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสอง ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรา กล่าวผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วง เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒ เป็นไฉน อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 750

เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะ เป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งผัสสะ เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะ และเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั่นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุดที่ ๒ ปัจจุบันเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๒ อทุขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งนั้นๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 751

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุดที่ ๑ รูปเป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหา ย่อมร้อยรัดนาม รูป และวิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุ เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๑ อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุ เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดสักกายะ เป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับสักกายะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุ เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 752

เมื่อภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้งปวงเทียว ได้พยากรณ์ ตามปฏิภาณของตนๆ มาเถิด เราทั้งหลาย จักพากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงพยากรณ์ แก่พวกเรา โดยประการใด เราทั้งหลาย จักทรงจำ ข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นไว้ โดยประการนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย รับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ได้พากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล การที่สนทนาปราศรัยทั้งหมดนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอ เป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำของเธอทั้งปวง เป็นสุภาษิตโดยปริยาย อนึ่ง เราหมายเอา ข้อความที่กล่าวไว้ ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสอง ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าว ผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นกล่าวล่วง เครื่องร้อยรัด ในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.

เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับผัสสะ เป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหา ย่อมร้อยรัดผัสสะ เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้น แห่งภพนั้นๆ ด้วยเหตุ เท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า ย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 753

ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันเทียว.

จบปรายสูตรที่ ๗

อรรถกถาปรายนสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอรรถกถาปรายนสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปารายเน เมตฺเตยฺยปญฺเห ได้แก่ ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ที่มาในปารายนวรรค. บทว่า อุภนฺเต วิทิตฺวาน ได้แก่ ทราบที่สุด ๒ อย่าง คือ ส่วน ๒ ส่วน. บทว่า มชฺเฌ มนฺตา น ลิปฺปติ ความว่า ปัญญาเรียกว่า มันตา (บุคคลใด) ทราบที่สุดทั้งสอง ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า มันตา นั้นแล้ว ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง คือ ไม่ติดอยู่ในที่ตรงกลาง. บทว่า สิพฺพนิ มจฺจคา ความว่า (บุคคลนั้น) ผ่านพ้นตัณหา ที่เรียกว่า สิพพนี (เครื่องร้อยรัด) ได้แล้ว.

บทว่า ผสฺโส ความว่า เพราะบังเกิด ด้วยอำนาจผัสสะ อัตตภาพนี้ จึงมี. บทว่า เอโก อนฺโต ความว่า ผัสสะนี้ เป็นส่วนหนึ่ง. บทว่า ผสฺสสมุทโย มีรูปวิเคราะห์ว่า ผัสสะ เป็นเหตุเกิดของอัตตภาพนั้น เหตุนั้น อัตตภาพนั้น จึงชื่อว่า มีผัสสะเป็นเหตุเกิด. อัตตภาพในอนาคต จักบังเกิดได้ เพราะมีผัสสะ คือ กรรมที่ทำไว้ ในอัตตภาพนี้ เป็นปัจจัย. บทว่า ทุติโย อนฺโต ได้แก่ ส่วนที่ ๒. บทว่า ผสฺสนิโรโธ ได้แก่ นิพพาน. บทว่า มชฺเฌ ความว่า นิพพาน ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง เพราะหมายความว่า แยกธรรม (ผัสสะ และเหตุเกิดของผัสสะ) ออกเป็น ๒ ฝ่าย โดยตัดตัณหา เครื่องร้อยรัด

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 754

เสียได้. บทว่า ตณฺหา หิ นํ สิพฺพติ ความว่า ตัณหาย่อมร้อยรัด คือ เชื่อมต่อผัสสะ (กล่าวคืออัตตภาพทั้งสอง) และเหตุเกิดของผัสสะนั้น เข้าด้วยกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะทำภพนั้นๆ นั่นแล ให้บังเกิด อธิบายว่า ถ้าหากตัณหาจะไม่พึงร้อยรัด (ผัสสะ กับเหตุเกิดของผัสสะ) ไว้ไซร้ ภพนั้นๆ แล ก็จะไม่พึงบังเกิด.

ในที่นี้ นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้แสดงข้อเปรียบเทียบ ระหว่างที่สุด กับท่ามกลางไว้. อธิบายว่า คำว่า ที่สุด (ปลาย) และท่ามกลาง ท่านกล่าวไว้ สำหรับไม้ ๒ ท่อน ที่บุคคลรวมเข้าด้วยกันแล้ว เอาเชือกมัดตรงกลางไว้. เมื่อเชือกขาด ไม้ทั้งสองท่อนก็จะหล่นจากทั้งสองข้าง (ข้างปลาย และตรงกลาง). ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น คือ ที่สุด ๒ อย่าง ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว เปรียบเหมือนไม้ ๒ ท่อน. ตัณหาเปรียบเหมือนด้ายที่ร้อยรัด (ไม้) อยู่ เมื่อตัณหาดับ ที่สุดทั้งสอง ก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อด้ายขาด ไม้ทั้ง ๒ อัน ก็หล่นจากทั้งสองข้าง.

บทว่า เอตฺตาวตา คือ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะรู้ที่สุดทั้งสอง แล้วไม่ถูกตัณหา ฉาบติดไว้ตรงกลางนี้ ภิกษุจึงชื่อว่า รู้ยิ่งธรรม คือสัจจะ ๔ ที่ควรรู้ยิ่ง จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัจจะที่เป็นโลกิยะทั้งสอง ที่ควรกำหนดรู้ ด้วยตีรณปริญญา และปหานปริญญา. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ ในอัตตภาพนี้แล. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่สุด คือ ทำการกำหนดรอบวัฏฏทุกข์.

ในวาระที่ ๒ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบอุปมา ด้วยอำนาจไม้ ๓ ท่อน จริงอยู่ ไม้ ๓ ท่อน ที่บุคคลเอาเชือกมัดไว้ เมื่อเชือกขาด ไม้ ๓ ท่อน ก็จะตกไปในที่ ๓ แห่ง. ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนี้ คือ ขันธ์ที่เป็นอดีต

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 755

อนาคต และปัจจุบัน เปรียบเหมือนไม้ ๓ ท่อน. ตัณหา เปรียบเหมือนเชือก เพราะว่าตัณหานั้น ร้อยรัดขันธ์ที่เป็นอดีต เข้ากับขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน และร้อยรัดขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน เข้ากับขันธ์ที่เป็นอนาคต เมื่อตัณหาดับ ขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อเชือกขาด ไม้ ๓ ท่อนก็ตกไป ในที่ ๓ แห่ง.

ในวาระที่ ๓ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า อทุกฺขมสุขา มชฺเฌ ความว่า อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า ท่ามกลาง เพราะภาวะที่อยู่ ในระหว่างเวทนาอีก ๒ (สุขเวทนากับทุกขเวทนา). เพราะว่า สุข ชื่อว่า อยู่ในภายในแห่งทุกข์ หรือว่า ทุกข์ ชื่อว่า อยู่ในภายในแห่งสุขไม่มี. บทว่า ตณฺหา สิพฺพินี ได้แก่ ความเพลิดเพลิน และความกำหนัด ในเวทนาทั้งหลาย. บทว่า เวทนานํ อุปจฺเฉทํ นิวาเรติ ความว่า (ตัณหา) ชื่อว่า ร้อยรัดเวทนาเหล่านั้นไว้.

ในวาระที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺาณํ มชฺเฌ ความว่า ทั้งปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งวิญญาณที่เหลือ ชื่อว่า เป็นท่ามกลางของ นามรูปทั้งหลาย เพราะเกิดขึ้นโดย เป็นปัจจัยของนามรูป.

ในวาระที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺาณํ มชฺเฌ ความว่า กรรมวิญญาณ ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณชนิดใด ชนิดหนึ่ง ในที่นี้ ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง เพราะในบรรดา อายตนะภายใน (เฉพาะ) มนายตนะ (อายตนะ คือ ใจ) รับเอากรรมไว้. อีกอย่างหนึ่ง ชวนวิญญาณ ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง เพราะมโนทวาราวัชชนะ (การน้อมนึกในมโนทวาร) อาศัยอายตนะภายใน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 756

ในวาระที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สกฺกาโย ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สกฺกายสมุทโย ได้แก่ สมุทยสัจ. บทว่า สกฺกายนิโรโธ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุนั้นๆ. บทที่เหลือ พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในที่ทุกแห่งทีเดียว.

จบอรรถกถา ปรายนสูตรที่ ๗