พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมปริยายชําแรกกิเลส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39410
อ่าน  627

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 766

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๙. นิพเพธิกสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยายชําแรกกิเลส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 766

๙. นิพเพธิกสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยายชำแรกกิเลส

[๓๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยาย ที่เป็นปริยาย เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยาย ที่เป็นปริยาย เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 767

ความดับสัญญา เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลาย พึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลาย พึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกามนั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น... โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่ชื่อว่า กาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่า กามคุณ ในวินัยของพระอริยเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ ต่อไปอีกว่า

ความกำหนัด ที่เกิดด้วยสามารถ แห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า กาม อารมณ์อัน วิจิตรทั้งหลาย ในโลกไม่ชื่อว่า กาม ความกำหนัดที่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลาย ในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 768

ตน ส่วนว่าธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์อันวิจิตร เหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุ เกิดแห่งกามทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกามเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตตภาพ ที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกาม เพราะผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ. สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุข-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 769

เวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่า ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตตภาพ ที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญ หรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งเวทนา ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวก ย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึง ความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่ง การชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา ก็วิบากแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวว่า สัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า)

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 770

บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกอย่างนั้น นี้เรียกว่า วิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งสัญญา ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทา ที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ อาสวะที่เป็นเหตุ ให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิด สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่เป็นเหตุไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษยโลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญ หรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ ความดับแห่งอาสวะย่อมเกิด เพราะความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวก ย่อมทราบชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 771

ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษยโลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่า มี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวก ย่อมทราบชัด กรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไป ในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 772

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราเป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปทานขันข์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่า ความต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือบางคน ถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ ในภายนอกว่า ใครจะรู้ ทางเดียวหรือสองทาง เพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่า มีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุ ปลดเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ความดับแห่งทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ แห่งทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 773

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นธรรมปริยาย ที่เป็นปริยายเป็นไป ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส.

จบนิพเพธิกสูตรที่ ๙

อรรถกถานิพเพธิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในนิพเพธิกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ธรรมชื่อว่า นิพเพธิกปริยาย เพราะเจาะ คือ ทำลายกองโลภะ เป็นต้น ที่ยังไม่เคยเจาะ ยังไม่เคยทำลายมาก่อน อธิบายว่า ได้แก่ เหตุแห่งการเจาะแทง. บทว่า นิทานสมฺภโว ความว่า ชื่อว่า นิทาน เพราะมอบให้ซึ่งกาม คือมอบหมายให้ โดยความเป็นเหตุสามารถให้เกิดขึ้น. ธรรมชื่อว่า สัมภวะ เพราะเป็นแดนเกิดขึ้น. สัมภวะ ก็คือ นิทานนั่นเอง จึงชื่อว่า นิทานสัมภวะ. บทว่า เวมตฺตตา ได้แก่ เหตุต่างๆ กัน.

บทว่า กามคุณา ความว่า ชื่อว่า กาม เพราะหมายความว่า ชวนให้ใคร่ ชื่อว่า คุณ เพราะหมายความว่า ผูกมัดไว้ ดังในประโยค เป็นต้นว่า อนฺตคุณํ (สายรัดไส้). บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา ความว่า ที่จะพึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า อิฏฺา มีอธิบายว่า จะปรารถนา หรือไม่ก็ตาม ก็คงเป็นอิฏฐารมณ์ อยู่นั่นแหละ. บทว่า กนฺตา ได้แก่ เป็นของน่าใคร่. บทว่า มนาปา ได้แก่ เป็นที่เจริญใจ. บทว่า ปิยรูปา ได้แก่ เป็นที่รักโดยกำเนิด. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่า อันกามที่เกิดขึ้น เพราะทำปิยรูปให้เป็นอารมณ์ ยั่วยวนแล้ว. บทว่า รชนียา ความว่า เป็นเหตุ แห่งการบังเกิดขึ้นของราคะ. บทว่า เนเต กามา ความว่า รูป เป็นต้นเหล่านี้ ได้ชื่อว่า เป็นกาม เพราะอรรถว่าใคร่ ก็หามิได้

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 774

บทว่า สงฺกปฺปราโค ได้แก่ราคะที่บังเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความดำริ. บทว่า กาโม ความว่า ราคะที่เกิดขึ้นแล้วนี้ ผู้ปฏิบัติเพื่อละกาม จำต้องละรูป เป็นต้น ชื่อว่า กาม ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุใคร่. บทว่า จิตฺรานิ ได้แก่ มีอารมณ์ที่วิจิตรงดงาม.

บทว่า ผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. บทว่า กามยมาโน ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. บทว่า ตชฺชํ ตชฺชํ ได้แก่ อัตตภาพที่เกิดขึ้นๆ จากกามนั้น. บทว่า ปุญฺภาคิยํ ความว่า อัตตภาพของผู้ที่ปรารถนากาม อันเป็นทิพย์ แล้วเกิดในเทวโลก เพราะสุจริตธรรมบริบูรณ์ ชื่อว่า ปุญญภาคิยะ (ที่เป็นฝ่ายกุศล) อัตตภาพของผู้ที่เกิดในอบาย เพราะทุจริตธรรมบริบูรณ์ ชื่อว่า อปุญญภาคิยะ (ที่เป็นฝ่ายอกุศล).

บทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว กามานํ วิปาโก ความว่า อัตตภาพทั้งสองอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นวิบากของกาม เพราะเกิดขึ้นโดยอาศัย ความปรารถนากาม. บทว่า โส อิมํ นิพฺเพธิกํ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมรู้จริยาอันประเสริฐนี้ ที่เป็นเครื่องเจาะไชฐาน (อายตนะ) ๓๖ อย่าง. บทว่า กามนิโรธํ ความว่า (กามนิโรธ) ที่ได้มาอย่างนี้ เพราะกามทั้งหลายดับไป. ด้วยว่า ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก มรรค กล่าวคือ พรหมจรรย์ นั่นแหละว่า เป็นความดับกาม.

บทว่า สามิสา ความว่า สัมปยุตด้วยอามิส คือกิเลส. ในทุกๆ ฐานะ (วาระ) พึงทราบความโดยนัยนี้. อีกประการหนึ่ง พึงทราบความ ในบทว่า โวหารปกฺกํ นี้ว่า ได้แก่ โวหารวิบาก อธิบายว่า โวหารกล่าวคือ ถ้อยคำ ชื่อว่า วิบากของสัญญา. บทว่า นํ ในคำว่า ยถา นํ นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. ดังนั้น จึงมีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลจำได้อย่างใดๆ ย่อมพูดไปอย่างนั้นๆ ด้วยคิดว่า เราจำได้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 775

อย่างนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า โวหารเวปักกะ. บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาที่หนาแน่น ที่เป็นตัวไม่รู้ในฐานะทั้ง ๘. อาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า นิรยคามนิยา เพราะให้สัตว์ ไปนรก อธิบายว่า เป็นเหตุให้สัตว์ เกิดในนรก. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า เจตนาทํ ตัดบทเป็น เจตนํ อหํ (เราตถาคต กล่าวเจตนาว่า เป็นกรรม). ในบทว่า เจตนาหํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย เอาเจตนาที่มีการจัดแจง (สัมปยุตธรรม) ที่รวบรวมธรรมทุกอย่าง (กุศลธรรม อกุศลธรรม) ไว้. บทว่า เจตยิตฺวา ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในทวาร. บทว่า มนสา ได้แก่ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า นิรยเวทนียํ ได้แก่ อำนวยวิบากในนรก. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า อธิมตฺตํ ได้แก่ ทุกข์มีกำลัง. บทว่า ทนฺธวิราคํ ความว่า ทุกข์หนัก คือ ทุกข์ที่คลายไปได้ไม่เร็ว ได้แก่ ค่อยๆ คลายไป. บทว่า อฺรตฺตาฬี กนฺทติ ได้แก่ ค่อนอุระ คร่ำครวญ. บทว่า ปริเยฏฺิ ได้แก่ การแสวงหา. บทว่า เอกปทํ ทฺวิปทํ ได้แก่ รู้เพียงทางเดียว หรือเพียงสองทาง อธิบายว่า ใครจะรู้ประมาณการ. บทว่า สมฺโมหเวปกฺกํ ได้แก่ วิบากแห่งสัมโมหะ (ความงมงาย) อธิบายว่า ความลืมเลือน ชื่อว่า เป็นผลไหลออกแห่งทุกข์. แม้ในบทที่สอง ก็มีนัยนี้แหละ เพราะว่า ถึงการแสวงหา ก็เป็นผลไหลออกแห่งทุกข์นั้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถา นิพเพธิกสูตรที่ ๙