พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมพลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39473
อ่าน  396

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 5

ปฐมปัณณาสก์

ธนวรรคที่ ๑

๓. ปฐมพลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 5

๓. ปฐมพลสูตร

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล.

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้เป็นบัณฑิต ย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น.

จบ ปฐมพลสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๓

ปฐมพลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยนิโส วิจิเน ธมฺมํ ความว่า ย่อมเลือกเฟ้นธรรม คือ สัจจะ ๔ โดยอุบาย. บทว่า ปญฺตฺถํ วิปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นสัจจธรรมด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคพร้อมวิปัสสนา. บทว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 6

ปชฺโชตสฺเสว ความว่า ประหนึ่งความดับแห่งประทีปฉะนั้น. บทว่า วิโมกฺโข โหติ เจตโส ความว่า จริมกจิต จิตดวงสุดท้ายของพระขีณาสพผู้ประกอบด้วยพละเหล่านี้นั้น ย่อมหลุดพันจากวัตถุและอารมณ์ เหมือนความดับไปแห่งดวงประทีปฉะนั้น คือ ย่อมไม่ปรากฏสถานที่ไป.

จบ อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๓