พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยพลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39474
อ่าน  401

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 7

ปฐมปัณณาสก์

ธนวรรคที่ ๑

๔. ทุติยพลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 7

๔. ทุติยพลสูตร

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ศรัทธาพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ศรัทธาพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิริยพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หิริพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โอตตัปปพละเป็นไฉน ก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 8

สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สติพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกนึกถึงแม้สิ่งที่ทำคำที่พูดไว้นานๆ ได้ นี้เรียกว่า สติพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เรียกว่า สมาธิพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล.

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้เป็นบัณฑิต ย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถแต่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 9

หลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น.

จบ ทุติยพลสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยพบสูตรที่ ๔

ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีอาทิว่า สทฺโธ โหติ ได้พรรณนาไว้แล้วในปัญจกนิบาต นั่นแล.

จบ อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๔