พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อุคคสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39477
อ่าน  527

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 14

ปฐมปัณณาสก์

ธนวรรคที่ ๑

๗. อุคคสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 14

๗. อุคคสูตร

[๗] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อว่าอุคคะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา โดยเหตุที่มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานโรหณเศรษฐีเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากถึงเพียงนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอุคคะ ก็มิคารเศรษฐีหลานโรหณเศรษฐี มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากสักเท่าไร.

อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทองแสนลิ่ม จะกล่าวไปไยถึงเงิน.

พ. ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่แล เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก.

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นผู้มีทรัพย์มากในโลก อันอะไรๆ พึงผจญไม่ได้ในเทวดา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 15

และมนุษย์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.

จบสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุคคสูตรที่ ๗

อคคสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุคฺโค ราชมหามตฺโต ได้แก่ มหาอำมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เป็นผู้บริโภคอาหารเช้าเสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้า.

บทว่า อทฺโธ ความว่า เป็นผู้มั่งคั่งเพราะทรัพย์ที่เก็บไว้. ด้วยบทว่า มิคาโร โรหเณยฺโย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามิคารเศรษฐีเป็นหลานแห่งโรหณเศรษฐี. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่ เป็นมีทรัพย์มากโดยทรัพย์สำหรับใช้สอย. บทว่า มหาโภโค ได้แก่ เป็นผู้มีโภคะมากเพราะมีสิ่งอุปโภคและปริโภคมาก บทว่า หิรญฺสฺส ได้แก่ ทองคำนั้นเอง. จริงอยู่ เฉพาะทองคำของเศรษฐีนั้น นับได้จำนวนเป็นโกฏิ. บทว่า รูปิยสฺส ความว่า กล่าวเฉพาะเครื่องจับจ่ายใช้สอย เช่น ที่นอน เสื่ออ่อน ขัน เครื่องลาด และเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น จะประมาณไม่ได้เลย.

จบ อรรถกถาอุคคสูตรที่ ๗