๓. กุลสูตร
[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 21
ปฐมปัณณาสก์
อนุสยวรรคที่ ๒
๓. กุลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 21
๓. กุลสูตร
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ไม่ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วไม่ควรนั่ง องค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วยไม่เต็มใจ ๑ ไหว้ด้วยไม่เต็มใจ ๑ ให้อาสนะด้วยไม่เต็มใจ ๑ ซ่อนของที่มีอยู่ ๑ เมื่อมีของมากให้น้อย ๑ เมื่อมีของประณีตให้ของเศร้าหมอง ๑ ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ไม่ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วไม่ควรนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง องค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วยเต็มใจ ๑ ไหว้ด้วยเต็มใจ ๑ ให้อาสนะด้วยเต็มใจ ๑ ไม่ซ่อนของที่มีอยู่ ๑ เมื่อมีของมากให้มาก ๑ เมื่อมีของประณีตให้ของประณีต ๑ ให้โดยเคารพ ไม่ให้โดยไม่เคารพ ๑ ก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง.
จบ กุลสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 22
อนุสยวรรคที่ ๒
อรรถกถากุลสูตรที่ ๓
วรรคที่ ๒ กุลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นาลํ แปลว่า ไม่ควร คือไม่เหมาะสม. บทว่า น มนาเปน ความว่า ลุกจากอาสนะที่ตนนั่งโดยอาการไม่คอยเต็มใจ คือ แสดงอาการไม่พอใจนั่นเอง. สองบทว่า สนฺตมสฺส ปริคูหนฺติ ความว่า ย่อมซ่อน คือย่อมปกปิด - ไทยธรรมแม้ที่มีอยู่แก่ภิกษุนั้น. บทว่า อสกฺกจฺจํ เทนฺติ โน สกฺกจฺจํ ความว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม ให้ ไม่ใช่ด้วยมือของตน คือโดยอาการไม่ยำเกรง ย่อมไม่ให้โดยอาการยำเกรง.
จบ อรรถกถากุลสูตรที่ ๓