พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปุคคลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39484
อ่าน  567

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 23

ปฐมปัณณาสก์

อนุสยวรรคที่ ๒

๔. ปุคคลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 23

๔. ปุคคลสูตร

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ อุภโตภาควิมุต ๑ ปัญญาวิมุติ ๑ กายสักขี ๑ ทิฏฐิปปัตตะ ๑ สัทธาวิมุติ ๑ ธัมมานุสารี ๑ สัทธานุสารี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ ปุคคลสูตรที่ ๔

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๔

ปุคคลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้ง ๒. อธิบายว่า หลุดพ้นแล้วจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ และหลุดพ้นแล้วจากนามกายด้วยมรรค. บุคคลนั้นมี ๕ จำพวก คือ บุคคลผู้ออกจากอรูปสมาบัติ ๔ แต่ละสมาบัติ แล้วพิจารณาสังขารแล้วบรรลุพระอรหัต ๔ จำพวก, และพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 24

บรรลุพระอรหัต ๑ จำพวก. แต่บาลีในพระสูตรมาแล้วด้วยอำนาจผู้ได้วิโมกข์ ๘ อย่างนี้ว่า ก็บุคคลผู้หลุดพ้นโดยส่วน ๒ เป็นไฉน? บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ ถูกต้องวิโมกข์ด้วยนามกายแล้วอยู่ อาสวะของผู้นั้นย่อมสิ้นไปเพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา.

บุคคลผู้ชื่อว่า ปัญญาวิมุตตะ เพราะหลุดพ้นด้วยปัญญา. ปัญญาวิมุตตะนั้นมี ๕ จำพวก ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ พระอรหันตสุกขวิปัสสกะจำพวก ๑ ท่านออกจากฌาน ๔ แล้วบรรลุพระอรหัต ๔ จำพวก. แต่บาลีในสูตรนี้มาแล้วโดยปฏิเสธวิโมกข์ ๘ ดังพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ความจริง บุคคลไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ อาสวะทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไปเพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.

บุคคลชื่อว่า กายสักขี เพราะทำให้วิโมกข์นั้นอันตนทำให้แจ้งแล้วด้วยนามกาย. กายสักขีปุคคลนั้นย่อมถูกต้องฌานสัมผัสก่อน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิโรธคือพระนิพพานในภายหลัง. กายสักขีบุคคลนั้น นับตั้งแต่พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลจนถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค รวมเป็น ๖ จำพวก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า บุคคลบางคนในพระศาสนาถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นย่อมสิ้นไปเพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่า กายสักขี ด้วยเห็นวิโมกข์ด้วยนามกาย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 25

บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปปัตตะ เพราะถึงอริยสัจจธรรมที่ตนเห็นแล้ว. ในทิฏฐิปปัตตบุคคลนั้น มีสักษณะสังเขปดังต่อไปนี้ บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปปัตตะ เพราะรู้ เห็น รู้แจ้ง ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ความดับสังขารเป็นสุข ดังนี้. แต่เมื่อว่าโดยพิศดาร บุคคลแม้นั้นย่อมมี ๖ จำพวก ดุจกายสักขีบุคคล ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ปฏิปทา เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ และเป็นผู้มีธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งตนเห็นแล้วด้วยปัญญา อันตนประพฤติแล้วด้วยปัญญา บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงอริยสัจจ์ที่ตนเห็นแล้ว.

บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุตตะ เพราะหลุดพ้นด้วยศรัทธา สัทธาวิมุตตบุคคลแม้นั้น ก็มี ๖ จำพวกโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ปฏิปทาเป็นเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ และย่อมเป็นผู้มีธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งตนเห็นแล้วด้วยปัญญา อันตนประพฤติแล้วด้วยปัญญา ฯลฯ บุคคลนี้ท่านเรียกว่า สัทธาวิมุตตะ หลุดพ้นด้วยศรัทธา แต่ว่าไม่เป็นเหมือนความหลุดพ้นของทิฏฐิปปัตตะบุคคล. เพราะความสิ้นกิเลสของสัทธาวิมุตตะบุคคลนี้เหมือนความสิ้นกิเลสของบุคคลผู้เชื่ออยู่ ปักใจเชื่ออยู่ และน้อมใจเชื่ออยู่ในมัคคขณะอันเป็นส่วนเบื้องต้นฉะนั้น ญาณอันเป็นเครื่องดับกิเลสในมัคคขณะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 26

อันเป็นส่วนเบื้องต้นของทิฏฐิปปัตตะบุคคล เป็นญาณไม่ชักช้า กล้าแข็ง แหลมคม ตัดกิเลสผ่านไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น เหมือนอย่างว่า บุคคลใช้ดาบที่ไม่คมตัดต้นกล้วย รอยขาดของต้นกล้วยย่อมไม่เกลี้ยงเกลา ดาบก็ไม่นำ (ตัด) ไปได้โดยฉับพลัน ยังได้ยินเสียง ใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า ฉันใด มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของสัทธาวิมุตตบุคคลนั้น พึงทราบเหมือนฉันนั้น แต่บุคคลเอาดาบที่ลับดีแล้วตัดต้นกล้วย รอยขาดของต้นกล้วยย่อมเกลี้ยงเกลา ดาบย่อมนำ (ตัด) ได้ฉับพลัน ไม่ได้ยินเสียง ไม่ต้องใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า ฉันใด มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปัญญาวิมุตตบุคคลก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน.

บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เพราะตามระลึกถึงธรรม. ปัญญาชื่อว่าธรรม. อธิบายว่า บุคคลย่อมเจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ แม้ในบุคคลผู้สัทธานุสารีก็นัยนี้เหมือนกัน. บุคคลทั้ง ๒ นั้น ก็ต่อบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคนั่นแล. สมจริงดังคำที่ธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า บุคคลใดปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ปัญญินทรีย์ย่อมมีจำนวนมาก บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมเจริญอริยมรรค อันมีปัญญาเป็นตัวนำ บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ธัมมานุสารี. ในธัมมานุสารีนั้นมีความสังเขปเพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร กถาว่าด้วยอุภโตภาควิมุตตะปุคคลเป็นต้นนี้ ก็กล่าวไว้แล้วในอธิการว่าด้วยปัญญาภาวนาในวิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดยที่กล่าวแล้วในปกรณ์นั้นเถิด ดังนี้.

จบ อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๔