พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. นิททสวัตถุสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39490
อ่าน  402

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 41

ปฐมปัณณาสก์

อนุสยวรรคที่ ๒

๑๐. นิททสวัตถุสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 41

๑๐. นิททสวัตถุสูตร

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และเป็นผู้ได้ความยินดีในการสมาทานสิกขาต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และเป็นผู้ได้ความยินดีในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในอันที่จะกำจัดความอยาก และเป็นผู้ได้ความยินดีในอันที่จะกำจัดความอยากต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และเป็นผู้ได้ความยินดีในการหลีกเร้นต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และเป็นผู้ได้ความยินดีในการปรารภความเพียรต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในความเป็นผู้มีสติรอบคอบ และเป็นผู้ได้ความยินดีในความเป็นผู้มีสติรอบคอบต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้ได้ความยินดีในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล.

จบ นิททสวัตถุสูตรที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 42

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุสยสูตรที่ ๑ ๒. อนุสยสูตรที่ ๒ ๓. กุลสูตร ๔. ปุคคลสูตร ๕. อุทกูปมสูตร ๖. อนิจจสูตร ๗. ทุกขสูตร ๘. อนัตตสูตร ๙. นิพพานสูตร ๑๐. นิททสวัตถุสูตร

จบ อนุสยวรรคที่ ๒