พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. สารันททสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39491
อ่าน  490

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 43

ปฐมปัณณาสก์

วัชชีวรรคที่ ๓

๑. สารันททสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 43

วัชชีวรรคที่ ๓

๑. สารันททสูตร

[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีหลายพระองค์ด้วยกัน พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ชาววัชชีจักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีเมื่อประชุมก็จักพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีครั้งโบราณตามที่ท่านบัญญัติไว้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านวัชชีผู้ใหญ่ทั้งหลาย และจักสำคัญถ้อยคำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 44

แห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ชาววัชชีจักไม่ข่มขืน บังคับ ปกครองหญิงในสกุล เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจติยสถานของชาววัชชี ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้ เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกันโดยชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่าไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น. ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้จักตั้งอยู่ในชาววัชชี และชาววัชชียังปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ สารันททสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 45

วัชชีวรรคที่ ๓

อรรถกถาสารันททสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ สารันททสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สารนฺทเท เจติเย ได้แก่ ในวิหารมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตยังไม่เสด็จอุบัติ สถานที่อยู่ของยักษ์ชื่อสารันททะได้กลายเป็นเจดีย์. ครั้งนั้น ชนทั้งหลายได้พากันสร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เจดีย์นั่นแล. บทว่า ยาวกีวญฺจ แปลว่า ตลอดกาลเพียงไร. บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา ความว่า ประชุมกันวันละ ๓ ครั้งก็ดี ประชุมกันเป็นระยะๆ ก็ดี ชื่อว่าประชุมกันเนืองๆ. บทว่า สนฺนิปาตพหุลา ความว่า ชื่อว่ามากด้วยการประชุม เพราะยุติกันไม่ได้ว่า ทั้งวันวาน ทั้งในวันก่อนๆ เราก็ประชุมแล้ว เพื่อประโยชน์อะไรจึงประชุมกันวันนี้อีก. คำว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ ความจริงเจ้าลิจฉวีเมื่อไม่ประชุมกันเนื่องๆ ย่อมไม่ได้สดับข่าวสาสน์อันมาในทิศทั้งหลายเลย. แต่นั้นย่อมไม่ทราบว่าเขตแดนหมู่บ้านโน้นหรือเขตแดนนิคมโน้นวุ่นวายกัน พวกโจรส่องสุมกันอยู่ในที่โน้น ฝ่ายพวกโจรครั้นรู้ว่าเจ้าทั้งหลายพากันประมาทแล้ว ก็โจมตีหมู่บ้านเป็นต้น ทำชนบท ให้เสียหาย. ความเสื่อมเสียย่อมมีแก่เจ้าทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้. แต่เมื่อประชุมกันเนืองๆ ย่อมได้ฟังเรื่องนั้นๆ จากนั้นก็ได้ส่งกองกำลังไปกระทำการปราบศัตรู. แม้พวกโจรก็คิดว่าเจ้าทั้งหลายไม่ประมาทแล้ว พวกเราไม่อาจเที่ยวไปโดยคุมกันเป็นพวกๆ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 46

แล้วก็พากันแตกหนีไป. เจ้าทั้งหลายจึงมีความเจริญด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.

ในบทว่า สมคฺคา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. เมื่อสิ้นเสียงกลองเรียกประชุม พวกเจ้าวัชชีกระทำความบ่ายเบี่ยงว่า วันนี้เรามีกิจ เรามีการมงคล ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความพร้อมเพรียงกันประชุม อนึ่ง พวกเจ้าวัชชีพอได้สดับเสียงกลอง กำลังบริโภคอาหารก็ดี กำลังประดับก็ดี กำลังนุ่งผ้าอยู่ก็ดี บริโภคอาหารได้ครึ่งหนึ่ง ประดับตัวครึ่งเดียว กำลังนุ่งผ้า ก็มาประชุม ชื่อว่าย่อมพร้อมเพรียงกันประชุม. อนึ่ง พวกเจ้าวัชชีประชุม คิดปรึกษากันทำกิจที่ควรทำแล้ว แต่ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. ด้วยว่าเมื่อพวกเจ้าวัชชีเลิกประชุมกันอย่างนี้ พวกเจ้าวัชชีที่เลิกไปก่อนย่อมมีปริวิตกอย่างนี้ว่า พวกเราได้สดับแต่เรื่องนอกประเด็นทั้งนั้น บัดนี้จักมีเรื่องวินิจฉัยกันดังนี้. อนึ่ง พวกเจ้าวัชชีเมื่อพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ชื่อว่าย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพวกเจ้าวัชชีสดับว่า คามสีมาหรือนิคมสีมาในที่ชื่อโน้นวุ่นวายหรือมีพวกโจรส้องสุมดักปล้น กล่าวว่า ใครจักไปกระทำการปราบพวกศัตรู ดังนี้แล้วก็แย่งกันไปกล่าวว่า เราก่อน เราก่อน ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. แต่เมื่อการงานของเจ้าวัชชีผู้หนึ่งต้องหยุดชงักลง พวกเจ้าวัชชีนอกนั้นต่างก็ส่งบุตรและพี่น้องชายไปช่วยเหลือเจ้าวัชชีบ้าง พวกเจ้าวัชชี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 47

ทั้งหมดอย่าได้พูดกะเจ้าผู้เป็นอาคันตุกะว่า จงไปเรือนของเจ้าวัชชีโน้น จงไปเรือนของเจ้าวัชชีโน้น ดังนี้ ต่างพร้อมเพรียงกันสงเคราะห์บ้าง เมื่อการมงคลก็ดี โรคก็ดี ก็หรือว่าเมื่อสุขทุกข์เช่นนั้นอย่างอื่นเกิดขึ้นแก่เจ้าวัชชีคนหนึ่ง พวกเจ้าวัชชีทั้งหมด ก็พากันเป็นสหายในการงานนั้นบ้าง ชื่อว่า ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกระทำกิจที่เจ้าวัชชีควรกระทำ.

ในบทว่า อปฺปญฺตฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พวกเจ้าวัชชีเมื่อให้เก็บส่วยภาษีหรือค่าสินไหมที่ไม่ได้กระทำไว้ในกาลก่อน ชื่อว่า ย่อมบัญญัติข้อที่ยังไม่ได้บัญญัติ อนึ่ง พวกเจ้าวัชชีเมื่อให้เก็บส่วยเป็นต้น เฉพาะที่มีอยู่ตามประเพณีโบราณ ชื่อว่า ย่อมไม่ถอนข้อที่บัญญัติได้แล้ว. พวกเจ้าวัชชีตัดสินพวกมนุษย์ที่ถูกเจ้าหน้าที่จับมาแสดงว่าเป็นโจร สั่งลงโทษเสร็จเด็ดขาด ชื่อว่า ถือวัชชีธรรมของเก่าปฏิบัติ. เมื่อพวกเจ้าวัชชีเหล่านั้นบัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ พวกมนุษย์ผู้ถูกภาษีใหม่เอี่ยมเป็นต้น บีบคั้น ปรึกษากันว่า พวกเราถูกพวกเจ้าวัชชีเบียดเบียนเหลือเกิน ใครเล่าจักทนอยู่ในแคว้นของพวกเจ้าเหล่านี้ได้ ดังนี้แล้ว พากันอพยพไปยังปลายแดน เป็นโจรบ้าง เป็นพวกของโจรบ้าง พากันปล้นชาวชนบท. เมื่อเจ้าวัชชีเหล่านั้น ถอนข้อบัญญัติที่บัญญัติไว้แล้ว ไม่เก็บส่วยเป็นต้น ที่มีอยู่แล้วตามประเพณี เรือนคลังย่อมเสื่อมลง ลำดับนั้น ชนทั้งหลาย มีพลม้า พลช้าง กองทหาร และนางสนม เป็นต้น เมื่อไม่ได้รับค่าจ้างที่เคยมีเป็นประจำ ย่อมเสื่อมถอยจากเรี่ยวแรงและกำลัง. ชนเหล่านั้นย่อมทนความเป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 48

พลรบไม่ได้ อดทนต่อความปรนนิบัติมิได้. เมือเจ้าวัชชีทั้งหลายไม่ยึดวัชชีธรรมของเก่าปฏิบัติ พวกมนุษย์ในแว่นแคว้นพากันโกรธ ว่าเจ้าวัชชีทั้งหลายตัดสินบุตรบิดาของเราผู้ไม่เป็นโจรให้กลายเป็นโจรแล้ว ทำลายทรัพย์เสียดังนี้ ดังนี้แล้ว พากันอพยพไปอยู่ชายแดน เป็นโจรบ้าง เป็นพวกของโจรบ้าง พากันปล้นชนบท เจ้าทั้งหลายย่อมมีแต่ความเสื่อมด้วยอาการอย่างนี้ แต่เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลายไม่บัญญัติข้อที่มิได้บัญญัติไว้ พวกมนุษย์ต่างกันยินดีร่าเริงว่า เจ้าทั้งหลายทำตามข้อบัญญัติที่เคยมีมาแล้วตามประเพณีเท่านั้น ดังนี้แล้ว ย่อมจัดแจงการงานมีกสิกรรมและพานิชยกรรม เป็นต้น ให้สำเร็จผล เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลายไม่ถอนข้อที่บัญญัติไว้ เก็บภาษีเป็นต้น ที่เคยมีมาตามประเพณี เรือนคลังก็ย่อมเพิ่มพูน แต่นั้น พลช้าง พลม้า พลเดินเท้า และนางสนมเป็นต้น เมื่อได้ค่าจ้างตามที่มีเป็นประจำ ย่อมสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง ย่อมอดทนต่อการรบและอดทนต่อการปรนนิบัติบำรุง. เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลายยึดวัชชีธรรมของเก่าประพฤติ พวกมนุษย์ก็ไม่เพ่งโทษต่อเจ้าทั้งหลาย ทรงกระทำตามประเพณีโบราณ พระองค์เองก็รักษานิติธรรมอันเสนาบดีและอุปราชผู้ฉลาดในประโยชน์รักษาแล้ว ทรงให้สอนคัมภีร์ตามประเพณี ทรงให้ลงอาชญาที่เหมาะสมเท่านั้น พวกเจ้าเหล่านี้ไม่มีความผิด พวกเราต่างหากมีความผิด ดังนี้แล้ว พากันไม่ประมาทกระทำการงานทั้งหลาย จึงมีแต่ความเจริญด้วยอาการอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 49

บทว่า สกฺกริสฺสนฺติ ความว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย เมื่อกระทำสักการะอย่างใดอย่างหนึ่งแก่เจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้น จักกระทำแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น. บทว่า ครุกรสฺสนฺติ ความว่า จักเข้าไปตั้งความเคารพ กระทำ. บทว่า มาเนสฺสนฺติ ความว่า จักเป็นที่รักโดยความนับถือ. บทว่า ปูเชสฺสนฺติ ความว่า จักบูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัย. บทว่า โสตพฺพํ มญฺิสสนฺติ ความว่า พวกเจ้าวัชชีไปประพฤติวันละ ๒ - ๓ ครั้ง สำคัญถ้อยคำของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้นว่าฟัง ควรเชื่อถือ. บรรดาเจ้าวัชชีเหล่านั้น เจ้าวัชชีเหล่าใด ไม่ทำสักการะเป็นต้น แก่เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ หรือไม่ไปปรนนิบัติเจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่การรับโอวาทอย่างนี้ เจ้าวัชชีเหล่านั้น เป็นอันเจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้นทอดทิ้งเสียแล้ว ไม่ให้โอวาท เพลินแต่การเล่น ย่อมเสื่อมจากราชการ แต่เจ้าวัชชีเหล่าใด ย่อมปฏิบัติโดยประการนั้นอยู่ เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ย่อมบอกประเพณีโบราณแก่เจ้าวัชชีเหล่านั้นว่า กิจนี้ควรทำ กิจนี้ไม่ควรทำ แม้ถึงคราว สงครามก็แสดงอุบายว่า ควรเข้าไปอย่างนี้ ควรออกอย่างนี้. เจ้าวัชชีเหล่านั้น เมื่อถูกเจ้าวัชชีผู้ใหญ่โอวาทอยู่ ปฏิบัติตามโอวาท ย่อมอาจดำรงประเพณีแห่งราชการ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี วชฺชีนํ ปาฏิกงฺขา ดังนี้.

บทว่า กุลิตฺถิโย ได้แก่ หญิงแม่เรือนในสกุล. บทว่า กุลกุมาริโย ได้แก่ ธิดาทั้งหลายของหญิงแม่เรือนเหล่านั้น. บทว่า โอกสฺส หรือบทว่า ปสยฺห นี้เป็นชื่อของอาการคือการข่มขืนนั่นแล. บาลีว่า โอกาส ดังนี้ก็มี. ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกสฺส แปลว่า ฉุดมา

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 50

คือคร่ามา. บทว่า ปสยฺห แปลว่า ครอบงำ คือ บังคับ ความจริงเมื่อเจ้าเหล่านั้นกระทำอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายในแว่นแคว้นก็โกรธว่า ทั้งบุตรและพี่น้องในเรือนของพวกเรา ทั้งธิดาที่เราเช็ดน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ออกหน้าเลี้ยงให้เจริญเติบโต เจ้าวัชชีเหล่านั้นจับไปโดยพลการให้อยู่เสียในเรือนของตนอย่างนี้แล้ว พากันไปชายแดน เป็นโจรบ้าง เป็นพรรคพวกของโจรบ้าง ปล้นชนบท. เมื่อเจ้าวัชชีไม่กระทำอย่างนั้น พวกมนุษย์ในแว่นแคว้นเป็นขวนขวายน้อย กระทำการงานของตน ย่อมทำคลังหลวงให้เพิ่มพูน พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า วชฺชีนํ วชฺชีเจติยานิ ความว่า สถานที่ของยักษ์อันได้นามว่าเจดีย์ อันเขาตกแต่งให้วิจิตรในแคว้นวัชชีของเจ้าวัชชีทั้งหลาย. บทว่า อพฺภนฺตรานิ ได้แก่ ตั้งอยู่ภายนอกพระนคร. บทว่า ทินฺนปุพฺพํ กตปุพฺพํ แปลว่า ที่ให้และกระทำมาแต่ก่อน บทว่า โน ปริหาเปสฺสนฺติ ได้แก่ เจ้าวัชชีทั้งหลายจักไม่ลดคง กระทำตามที่เป็นอยู่แล้วนั้นแล. จริงอยู่ เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลายลดพลีกรรมที่เป็นธรรม เทวดาทั้งหลายก็ไม่กระทำการอารักขาที่จัดไว้เป็นอย่างดี แม้เมื่อไม่อาจจะให้เกิดสุขที่ยังไม่เกิด ย่อมทำโรคไอ โรคศีรษะ เป็นต้น ที่เกิดแล้วให้กำเริบ เมื่อเกิดสงครามก็ไม่เป็นพรรคพวกด้วย แต่เมื่อพวกเจ้าวัชชีไม่ลดพลีกรรม เทวดาทั้งหลายก็กระทำการอารักขาที่จัดแจงเป็นอย่างดี แม้เมื่อไม่สามารถจะให้เกิดสุขที่ยังไม่เกิดได้ ทั้งยังเป็นพรรคพวกคราวมีสงคราม

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 51

ด้วยเหตุนั้น พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า ธมฺมิการกฺขาวรณคุตฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. อารักขานี่แหละชื่อว่าป้องกัน เพราะป้องกันโดยประการที่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาจะไม่มาถึง ชื่อว่าคุ้มครอง เพราะคุ้มครองโดยประการที่สิ่งน่าปรารถนาไม่เสียหาย ในอารักขานั้น การใช้กองกำลังห้อมล้อมรักษาหาชื่อว่าธรรมิการักขาวรณคุตติสำหรับบรรพชิตไม่. ส่วนการ กระทำโดยประการที่คฤหัสถ์ทั้งหลายไม่แผ้วถางต้นไม้ในป่าใกล้วิหาร ชาวไร่ไม่ลงพืชเขตวิหาร ไม่จับปลาในสระใกล้วิหาร ชื่อว่า ธรรมิการักขาวรณคุตติ บทว่า กินฺติ แปลว่า เพราะเหตุไรหนอ.

ในคำว่า ธมฺมิการกฺขาวรณคุตฺติ นั้นมีวินิจฉัยดังนี้.

เจ้าวัชชีผู้ไม่ปรารถนาการมาของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ยังไม่มา ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้ว คนไม่กระทำการต้อนรับ ไปก็ไม่ยอมพบ ไม่ทำการปฏิสันถาร ไม่ถามปัญหา ไม่ฟังธรรม ไม่ถวายทาน ไม่ฟังการอนุโมทนา ไม่จัดแจงที่พักอาศัยให้ เมื่อเป็นเช่นนั้น กิตติศัพท์ไม่ดีงามของเจ้าวัชชีเหล่านั้นย่อมขจรไปว่า เจ้าชื่อโน้นเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้วไม่ออกไปต้อนรับ ฯลฯ ไม่จัดแจงที่พักอาศัยให้. บรรพชิตทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว แม้ไปทางประตูเมืองก็ไม่เข้าเมือง เมื่อเป็นเช่นนั้น พระอรหันต์ที่ยังไม่มาก็ไม่มา แต่ที่มาแล้ว เมื่ออยู่ไม่ผาสุก ผู้ที่ไม่รู้แล้วมาก็ตั้งใจว่าจักอยู่จึงพากันมา ใครเล่าจักอยู่ได้โดยการ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 52

ไม่นำพาทั้งนี้ของพวกเจ้าเหล่านี้ แล้วก็พากันออกไป เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อพระอรหันต์ที่ยังไม่มาก็ไม่มา ที่มาแล้วก็อยู่เป็นทุกข์ ประเทศนั้นก็ชื่อว่าไม่เป็นที่น่าอยู่สำหรับบรรพชิต. แต่นั้น การอารักขาของเทวดาก็ไม่มี เมื่อการอารักขาของเทวดาไม่มี พวกอมนุษย์ย่อมได้โอกาส อมนุษย์จะหนาแน่น ย่อมทำพยาธิที่ยังไม่เกิดขึ้น บุญอันเป็นวัตถุแห่งการเห็นผู้มีศีลและถามปัญหา เป็นต้นก็จะไม่มาถึง. โดยปริยายตรงกันข้าม ธรรมฝ่ายขาว (กุศล) ตามที่กล่าวแล้ว ก็จะเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบความเจริญ และความเสื่อมในเรื่องนี้ด้วยอาการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสารันททสูตรที่ ๑