พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. วัสสการสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39492
อ่าน  469

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 53

ปฐมปัณณาสก์

วัชชีวรรคที่ ๓

๒. วัสสการสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 53

๒. วัสสการสูตร

[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีบุตร ทรงพระประสงค์จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจักตัดเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับดับสูญ ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีบุตร จึงตรัสเรียกวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธมาปรึกษาว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ เชิญท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคำสั่งของเรา จงทูลถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตรทรงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ความอยู่สำราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีบุตร ทรงพระประสงค์จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า เราจักตัดเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับดับสูญ ดังนี้ ท่านจงสำเหนียกพระดำรัสที่พระมีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นั้นไว้ให้ดี แล้วมาบอกแก่เรา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 54

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะไม่ตรัสพระดำรัสที่คลาดเคลื่อนจากความจริงเลย วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธรับพระราชโองการพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีบุตร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงถวายบังคมพระบาทของพระโคดมผู้เจริญด้วยเศียรเกล้า ทรงกราบทูลถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ความอยู่สำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธทรงพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงมีพระประสงค์จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า จักตัดเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความ ย่อยยับดับสูญ.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 55

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอสดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีเมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีเมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีเมื่อประชุมก็พร้อมเพียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอได้ สดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 56

ชาววัชชี ตามที่บัญญัติไว้ในครั้งก่อนๆ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และย่อมสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และย่อมสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อนอานนท์ เธอได้ สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชีไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ชาววัชชีไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชีทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 57

อา. ข้าพระองค์เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพนับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชีทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจดีย์สถานเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชีทั้งภายในภายนอก และจักไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความ เสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชีถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข พระเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมในพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา จงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 58

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นเราได้แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้แก่เจ้าวัชชีว่า ดูก่อนพราหมณ์ อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้จักตั้งอยู่ในชาววัชชีและชาววัชชีจักทำร่วมกันอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชาววัชชีประกอบด้วยอปริหานิยธรรมแม้แต่ละอย่าง ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย จะกล่าวใยถึงชาววัชชีผู้ประกอบด้วยปริหานิยธรรม ๗ ประการเล่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อนึ่ง ชาววัชชีอันพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีบุตรไม่พึงทำการยุทธด้วยได้ เว้นเสียจากการเกลี้ยกล่อม เว้นเสียจากการยุยงให้แตกกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้มีกิจมาก มีกรณีย์มาก ขอกราบลาไป ณ บัดนี้.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ บัดนี้ท่านจงรู้กาลที่ควรเถิด.

ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ แล้วหลีกไป.

จบ วัสสการสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 59

อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิยาตุกาโม ความว่า มีพระราชประสงค์จะกรีธาทัพไปย่ำยี บทว่า วชฺชี ได้แก่ เจ้าวัชชีทั้งหลาย. ด้วยบทว่า เอวํมหิทฺธิเก ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยราชฤทธิ์ใหญ่อย่างนี้. ด้วยบทว่า เอวํมหิทฺธิเกนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถึงความที่เจ้าวัชชีเหล่านั้นมีความพร้อมเพรียงกัน. บทว่า เอวํมหานุภาเว ได้แก่ ประกอบด้วยราชานุภาพใหญ่อย่างนี้ ด้วยบทว่า เอวํมหานุภาเวนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถึงความที่เจ้าวัชชีเหล่านั้นเป็นผู้กระทำการศึกษาแล้วในหัสดีศิลปเป็นต้น ที่ทรงตรัสหมายเอาว่า เจ้าหนุ่มลิจฉวีเหล่านี้ศึกษาแล้วหนอ เจ้าลิจฉวีเหล่านี้ศึกษาดีแล้วหนอ ที่ปล่อยลูกธนูใหญ่น้อยที่มีภู่ติดปลายไม่พลาดเป้าทางช่องตาลที่ถี่ๆ บทว่า อุจฺเฉชฺชิสฺสามิ แปลว่า จักตัดให้ขาด บทว่า วินาเสสฺสามิ แปลว่า ทำไม่ให้ปรากฏเลย อนยพฺยสนํ ได้แก่ ไม่เจริญและความย่อยยับแห่งญาติ. บทว่า อาปาเทสฺสามิ แปลว่า จักให้ถึงความเสื่อมและความพินาศ.

ได้ยินว่า พระอชาตศัตรูนั้น ตรัสเรื่องการรบในที่ๆ ประทับยืนที่ประทับนั่งเป็นต้น และตรัสสั่งกองกำลังว่า พวกเจ้าเตรียมยาตราทัพด้วยประการฉะนี้. เหตุไร? เพราะว่าริมฝั่งแม่น้ำคงคา อาศัยหมู่บ้านปัฏฏนคามตำบลหนึ่ง เป็นดินแดนของพระเจ้าอาชาตศัตรู ๘ โยชน์ ของพวกเจ้าลิจฉวี ๘ โยชน์ ในปัฏฏนคามนั้น คันธชาติมีค่ามาก ไหลมาจากเชิงเขา เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงสดับ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 60

เรื่องนั้น ทรงตระเตรียมว่าเราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ พวกเจ้าลิจฉวีพร้อมเพรียงร่าเริงมาเสียก่อนเก็บเอาไปหมด.

พระเจ้าอชาตสัตรูเสด็จมาทีหลัง ทรงทราบเรื่องนั้นเข้า ก็ทรงพระพิโรธแล้วเสด็จกลับไป. แม้ในปีต่อไป เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ครั้งนั้นแล พระเจ้าอชาตสัตรูกริ้วอย่างแรง ก็ได้กระทำอย่างนั้นในครั้งนั้น

ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตสัตรูทรงพระดำริว่า ชื่อว่าการรบกับคณะเจ้าลิจฉวีเป็นเรื่องหนัก การประหัตประหารกันอย่างไร้ผลแม้ครั้งเดียวมีไม่ได้ จำต้องมีการปรึกษากับบัณฑิตผู้หนึ่งจึงทำการ คงจะไม่ผิดพลาด แต่บัณฑิตที่เสมือนกับพระศาสดาไม่มี และพระศาสดาก็ประทับอยู่ในพระวิหารใกล้ๆ ไม่ไกล เอาละจะส่งคน ไปทูลถาม ถ้าหากว่าเราไปเองจักมีประโยชน์ไร พระศาสดาคงจักนิ่ง แต่เมื่อไม่มีประโยชน์ พระศาสดาจักตรัสว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการไปในที่นั้น. ท้าวเธอจึงส่งวัสสการพราหมณ์ไป. พราหมณ์ไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ราชา ฯลฯ อาปาเทสฺสามิ วชฺชีติ.

บทว่า ภควนฺตํ วีชมาโน ความว่า พระเถระตั้งอยู่ในข้อวัตรถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ความหนาวหรือความร้อนหามีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว มิได้ทรงปรึกษากับพราหมณ์นั้น มีพระประสงค์ก็จะปรึกษากับพระเถระจึงตรัสว่า กินฺติ เม อานนฺท สุตํ ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 61

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า เอกมิทาหํ เพื่อทรงประกาศความที่วัชชีธรรม ๗ ประการนี้ที่ทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายมาก่อน. บทว่า กรณียา แปลว่า ไม่ควรทำ อธิบายว่า ไม่ควรถือเอา บทว่า ยทิทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยุทฺธสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัต ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัต. อธิบายว่า ใครๆ ไม่อาจยึดได้ด้วยการรบซึ่งๆ หน้า. บทว่า อญฺตฺร มิถุเภทา ความว่า เว้นการเจรจาการส่งบรรณาการ มีช้าง ม้า รถ เงิน ทอง เป็นต้น กระทำการสงเคราะห์กันด้วยกล่าวว่า อลํ วิวาเทน อย่าวิวาทกันเลย บัดนี้ เราจักสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน ชื่อว่าการเจรจากัน อธิบายว่า กระทำการสงเคราะห์อย่างนี้ ก็จะยึดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้ได้ด้วยความสนิทสนมอย่างเดียว บทว่า อญฺตฺร มิถุเภทา ได้แก่ เว้นการทำให้สองฝ่ายแตกกัน. ด้วยบทนี้ พระเจ้าอชาตสัตรูแสดงว่าทำให้แตกกันและกันแล้ว ก็จะจับเจ้าวัชชีเหล่านั้นไว้ได้.

พราหมณ์ได้นัยแห่งพระพุทธดำรัสแล้วจึงกล่าวดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพราหมณ์ได้นัยแห่งพระดำรัสนี้หรือ? ใช้ทรงทราบ ถามว่า ก็เมื่อทรงทราบ เหตุไรจึงตรัส ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์ นัยว่าพระองค์ได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า แม้เมื่อเราไม่กล่าว ๒ - ๓ วัน พระเจ้าอชาตสัตรูจักเสด็จไปจับเจ้าวัชชีไว้หมด. แต่ครั้นเรากล่าวแล้ว พระเจ้าอชาตสัตรูต้องใช้เวลา ๓ ปีทำลายพวกเจ้าลิจฉวีผู้สามัคคีกัน จึงจักจับได้ การมีชีวิตอยู่แม้เท่านี้ก็ประเสริฐ จริงอยู่ เจ้าวัชชีเป็นอยู่เท่านี้ก็จักกระทำบุญอันเป็นที่พึงแก่ตนได้ บทว่า อภินนฺทิตฺวา แปลว่า บันเทิงแล้วด้วยจิต. บทว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 62

อนุโมทิตฺวา บันเทิงด้วยวาจาว่า พระดำรัสนี้ ท่านพระโคดมตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า ปกฺกามิ กลับไปเฝ้าพระราชาแล้ว. ฝ่ายพระราชาก็ส่งวัสสการพราหมณ์นั้นนั่นแล ไปทำลายเจ้าวัชชีทั้งหมดให้ถึงความย่อยยับ.

จบ อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๒