พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ภิกขุสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39493
อ่าน  420

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 63

ปฐมปัณณาสก์

วัชชีวรรคที่ ๓

๓. ภิกขุสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 63

๓. ภิกขุสูตร

[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา จักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายเมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก จักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว จักประพฤติมั่นในสิกขาบทตามที่บัญญัติไว้แล้ว เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 64

ความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่า เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักเข้าไปตั้งความระลึกถึงเฉพาะตนได้ว่า ไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังไม่มา ขอจงมา และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๓

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓

ภิกขุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา นี้ เป็นเหมือนคำที่กล่าวแล้วในวัชชี อปริหานิยธรรม ๗ ประการนั่นแหละ. ก็ภิกษุทั้งหลาย แม้ในพระศาสนานี้ ไม่ประชุมกันเป็นนิตย์ย่อมไม่ได้ยินข่าวที่มาในทิศทั้งหลาย. ต่อแต่นั้น ย่อมไม่รู้ข่าวเป็นต้นว่า สีมาวิหารโน้นวุ่นวาย อุโบสถและปวารณายังตั้งอยู่. ภิกษุในที่ชื่อโน้นกระทำเวชกรรมและทูตกรรมเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายผู้มากไปด้วยวิญญัติย่อมเลี้ยงชีพด้วยการให้ผลไม้และดอกไม้เป็นต้น แม้ภิกษุชั่วทั้งหลาย รู้ว่าสงฆ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 65

ประมาทแล้ว ย่อมทำคำสั่งสอนที่เป็นกองให้เสื่อมลง. ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันเนื่องนิตย์ย่อมได้สดับเรื่องนั้น. ลำดับนั้น ก็ส่งภิกษุสงฆ์ไปให้กระทำสีมาเสียให้ตรง ยังอุโบสถและปวารณาให้เป็นไป ส่งภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ไปในสถานที่อยู่ของพวกภิกษุมิจฉาชีพ ให้สอนอริยวงศ์ให้ภิกษุ เหล่าวินัยธรลงนิคคหะแก่ภิกษุชั่ว ทั้งหลาย แม้ภิกษุชั่วทั้งหลายรู้ว่าสงฆ์ไม่เผลอเรอ พวกเราไม่อาจเพื่อเที่ยวไปเป็นพวกเป็นหมู่ได้ ดังนี้แล้วก็แตกหนีกันไป. พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ด้วยอาการอย่างนี้.

ในบทว่า สมคฺคา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พอเมื่อบุคคลตีกลองหรือเคาะระฆังว่า สงฆ์จงประชุมกันเพื่อชำระพระเจดีย์ หรือมุงเรือนโพธิ์โรงอุโบสถ หรือเพื่อประสงค์จะตั้งกติกาวัตร ภิกษุทั้งหลายทำความบ่ายเบี่ยงไปว่า เรามีจีวรกรรมอยู่ เราระบมบาตรอยู่ เรามีนวกรรมอยู่ ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันประชุม. ก็ภิกษุทั้งหลายเว้นกรรมนั้นทั้งหมด ต่างรีบไปกันก่อน ประชุมพร้อมกัน ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันประชุม. ส่วนภิกษุทั้งหลายประชุมกัน คิดปรึกษากันกระทำกิจที่ควรทำ ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุมทีเดียว ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. ด้วยว่าเมื่อภิกษุทั้งหลายเลิกประชุมกันด้วยอาการอย่างนี้ เหล่าภิกษุที่ไปถึงก่อนย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราฟังแต่นอกเรื่อง ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้เลิกประชุมพร้อมๆ กันนั่นแหละ ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสดับข่าวว่า สีมาวิหารในที่โน้นวุ่นวาย อุโบสถปวารณายังตั้งอยู่ในที่โน้น พวกภิกษุชั่วกระทำเวชกรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 66

เป็นต้นหนาแน่น เมื่อพระเถระกล่าวว่า ใครจักไปลงนิคคหะภิกษุเหล่านั้น ก็จะชิงกันพูดว่าผมก่อน ผมก่อน แล้วก็ไป ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเห็นภิกษุอาคันตุกะ ไม่กล่าวว่า ท่านจงไปบริเวณนี้ ท่านจงไปบริเวณนั่น พวกเราเป็นใคร ดังนี้ ทุกรูปกระทำวัตรบ้าง เห็นอาคันตุกะมีบาตรจีวรเก่า ก็แสวงหาบาตรจีวรด้วยภิกษาจารวัตรถวายภิกษุอาคันตุกะนั้น แสวงคิลานเภสัช (ยา) แก่ภิกษุอาคันตุกะอาพาธบ้าง ไม่พูดกะภิกษุอาคันตุกะ ผู้อาพาธไม่มีที่พึ่งว่าจงไปบริเวณโน้น บำรุงอยู่ในบริเวณของตนๆ บ้าง. คัมภีร์ที่ยังบกพร่องคัมภีร์หนึ่ง ก็สงเคราะห์ภิกษุผู้มีปัญญาให้เธอยกคัมภีร์นั้นขึ้นบ้าง ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันกระทำกิจที่ควรกระทำของสงฆ์.

ในบทว่า อปฺปญฺตฺตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุทั้งหลายถือเอากติกาวัตรหรือสิกขาบทที่ไม่เป็นธรรมใหม่ ชื่อว่า บัญญัติข้อที่มิได้ทรงบัญญัติ เหมือนภิกษุทั้งหลายในกรุงสาวัตถีบัญญัติข้อที่ยังไม่ได้บัญญัติในเพราะเรื่องสันถัดเก่า ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายแสดงคำสอนนอกธรรม นอกวินัย ชื่อว่าเพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุงเวสาลี เพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้วในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปีฉะนั้น อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจงใจละเมิดอาบัติเล็กน้อย ชื่อว่าไม่สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนภิกษุอัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะ ฉะนั้น. ส่วนภิกษุทั้งหลายผู้ไม่กระทำอย่างนั้น ชื่อว่าไม่บัญญัติ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 67

ข้อที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนท่านพระอุคคเสน ท่านพระยสกากัณฑกบุตร และท่านพระมหากัสสปะ ฉะนั้น. บทว่า วุฑฺฒิเยว ความว่า พึงหวังแต่ความเจริญด้วยคุณมีศีลคุณเป็นต้น เท่านั้น ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

บทว่า เถร ได้แก่ ผู้ถึงภาวะความมั่นคง คือ ประกอบด้วยคุณเครื่องกระทำความเป็นเถระ พระเถระทั้งหลายย่อมรู้ราตรีเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงชื่อว่ารัตตัญญู การบวชของภิกษุเหล่านี้สิ้นกาลนาน เพราะเหตุนั้นภิกษุเหล่านี้ชื่อว่าจิรปัพพชิตา พระเถระทั้งหลายตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดรแห่งสงฆ์ เหตุนั้นจึงชื่อว่า สังฆบิดร เพราะตั้งอยู่ในฐานะเป็นสังฆบิดร ภิกษุเหล่าใดย่อมนำสงฆ์ คือ เป็นหัวหน้าให้ภิกษุทั้งหลายประพฤติในสิกขา ๓ เพราะเหตุนั้นพระเถระเหล่านั้นชื่อว่า สังฆปริณายก ผู้นำสงฆ์. ภิกษุเหล่าใดไม่กระทำสักการะเป็นต้น แก่พระเถระเหล่านั้น ไม่ไปปรนนิบัติ ๒ วาระ ๓ วาระ เพื่อประโยชน์แก่การรับโอวาท พระเถระแม้เหล่านั้นย่อมไม่ให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น ไม่กล่าวถ้อยคำอันเป็นประเพณีธรรมเนียมแก่ภิกษุเหล่านั้น ไม่ให้ศึกษาธรรมปริยายอันเป็นสาระ ภิกษุเหล่านั้นอันพระเถระเหล่านั้นสลัดเสียแล้ว ย่อมเสื่อมจากคุณทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ คือธรรมขันธ์ มีศีลขันธ์เป็นต้น และอริยทรัพย์ ๗ ประการ. ฝ่ายภิกษุเหล่าใดกระทำสักการะเป็นต้น แก่พระเถระเหล่านั้น ไปปรนนิบัติพระเถระเหล่านั้น ย่อมให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น มีคำเป็นต้นว่า "ท่านพึงก้าวไปข้างหน้าด้วยอาการ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 68

อย่างนี้" กล่าวถ้อยคำอันเป็นประเพณีธรรมเนียม ให้ศึกษาธรรมปริยายอันเป็นสาระแก่นสาร พร่ำสอนด้วยธุดงค์ ๑๓ ด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระเหล่านั้น เจริญด้วยคุณ มีศีลคุณเป็นต้น ย่อมบรรลุตามลำดับซึ่งประโยชน์แห่งสามัญญผล ในข้อนี้พึงทราบความเสื่อมและความเจริญด้วยอาการอย่างนี้.

การเกิดใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น เหตุนั้น ตัณหานั้นชื่อว่า โปโนพภวิกา อธิบายว่าให้การเกิดใหม่. ของตัณหาอันเกิดใหม่นั้น. ในคำว่า น วสํ คจฺฉิสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ดำเนินไปตามรอยแห่งอุปฐากทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ ย่อมเที่ยวไปบ้านโน้นบ้านนี้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าไปสู่อำนาจแห่งตัณหาอันมีการเกิดใหม่เป็นปกตินั้น. ฝ่ายภิกษุอีกพวกหนึ่ง ไม่ไปสู่อำนาจแห่งตัณหาอันมีปกติเกิดใหม่นั้น. ในข้อนั้น ความเสื่อมและความเจริญทั้งหลายปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า อารญฺเกสุ ได้แก่ ในที่แห่งเสนาสนะ ไกลจากหมู่บ้านประมาณชั่ว ๕๐๐ ธนูเป็นที่สุด. บทว่า สาเปกฺขา แปลว่า ยังมีความอาลัย. จริงอยู่ภิกษุแม้ได้บรรลุฌานในเสนาสนะใกล้บ้าน พอมาตรว่าออกจากฌานนั้น ได้ฟังเสียงหญิงชายและเด็กเป็นต้น เพราะเหตุนั้น คุณวิเศษที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้วย่อมเสื่อมโดยแท้. ภิกษุนั้นแม้หลับไปในเสนาสนะป่า พอตื่นขึ้นได้ยินเสียงราชสีห์ เสือโคร่ง และนกยูงเป็นต้น ซึ่งได้ปีติในป่า พิจารณาเสียงนั้นนั่นแลก็ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญภิกษุผู้นอนในป่าเท่านั้น สำหรับภิกษุผู้บรรลุฌานนั่งใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 69

เสนาสนะใกล้บ้าน เพราะเหตุนั้น อาศัยอำนาจประโยชน์นั้นแหละ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายจักมีความอาลัยในเสนาสนะป่า ดังนี้.

บทว่า ปจฺจตฺตญฺเว สติํ อปฏฺเปสฺสนฺติ ความว่า เข้าไปตั้งสติไว้ภายในตน. บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก. ภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นทั้งหลาย แม้ไม่ปรารถนาการมาของภิกษุเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย แม้ในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่กระทำวัตรมีการออกไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรการ ปูอาสนะ และการถือพัดก้านตาล เป็นต้น แก่ภิกษุผู้มาถึงวิหาร. ลำดับนั้น ชื่อเสียงที่เลวของภิกษุเหล่านั้นย่อมฟุ้งขจรไปว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารชื่อโน้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่กระทำแม้วัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เข้าไปยังวิหาร. บรรพชิตทั้งหลายครั้นได้ยินเรื่องนั้นแล้ว แม้เมื่อเดินไปทางประตูวิหารก็ไม่เข้าไปยังวิหาร บรรพชิตทั้งหลายที่ยังไม่เคยมาก็ไม่มา ด้วยประการฉะนี้. ส่วนบรรพชิตผู้มาถึงแล้ว เมื่อวิหารที่อยู่ไม่มีความผาสุก ฝ่ายบรรพชิตผู้ที่มาถึง เพราะไม่ทราบก็พากันกลับออกไปด้วยคิดว่า พวกเรามาแล้วด้วยหวังว่าพวกเราจักพักอยู่ก่อนจึงมา ด้วยการปฏิบัติทำนองนี้ของภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นเหล่านี้ ใครจักพักอยู่ได้. วิหารนั้นย่อมไม่เป็นที่อยู่ของภิกษุเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย เมื่อไม่ได้พบเห็นภิกษุทั้งหลายมีศีล ย่อมไม่ได้ผู้บรรเทาความสงสัย ผู้ให้ศึกษาอาจาระหรือการฟังธรรมที่ไพเราะ. ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ได้เรียนธรรมที่ไม่เคยเรียน ย่อม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 70

ไม่ได้กระทำการสาธยายธรรมที่เคยเรียนมาแล้ว. ดังนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงมีแต่ความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย.

ส่วนภิกษุเหล่าใด ย่อมปรารถนาการมาของเพื่อสพรหมจารีทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส กระทำสามีจิกรรม มีการออกไปต้อนรับเป็นต้น แก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มาถึงแล้ว ย่อมปูอาสนะถวาย พาภิกษุผู้เป็นสพรหมจารีเหล่านั้นเข้าไปภิกษาจาร บรรเทาความสงสัย ย่อมได้การฟังธรรมอันไพเราะ. ลำดับนั้น ชื่อเสียงอันดีงามของภิกษุเหล่านั้นก็ฟุ้งขจรไปว่า ภิกษุทั้งหลายในวิหารชื่อโน้น เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสสมบูรณ์ด้วยวัตร เป็นผู้สงเคราะห์ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวดังนั้น จึงพากันมาแม้แต่ที่ไกล. ภิกษุทั้งหลายเจ้าของถิ่นกระทำวัตรแก่ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปใกล้ ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า แล้วนั่งอยู่ ถือเอาอาสนะในสำนักของภิกษุผู้อ่อนกว่าแล้วนั่ง ถามว่า ท่านทั้งหลายจักอยู่ในที่นี้หรือจักไป เมื่อท่านกล่าวว่าจักไป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสนาสนะเป็นสัปปายะ ภิกษาหาได้ง่าย ดังนี้แล้ว จึงไม่ยอมให้ไป. ถ้าภิกษุนั้นเป็นพระวินัยธรไซร้ ก็สาธยายพระวินัยในสำนักของท่าน. ถ้าท่านเป็นผู้ทรงพระสูตรเป็นต้น ก็สาธยายธรรมในสำนักของท่าน ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้อาคันตุกะ ย่อมบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายย่อมเป็นผู้กล่าวว่า พวกเขามาด้วยคิดว่าพวกเราจักอยู่สักวันหนึ่ง สองวัน แต่พวกเราก็อยู่เสีย ๑๐ พรรษา ๒๐ พรรษา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 71

เพื่อประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขสำหรับภิกษุเหล่านี้. พึงทราบความเสื่อมและความเจริญในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓