พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. กรรมสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39494
อ่าน  435

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 72

ปฐมปัณณาสก์

วัชชีวรรคที่ ๓

๔. กรรมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 72

๔. กรรมสูตร

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการงาน จักไม่ขวนขวายความยินดีการงาน เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการคุย ฯลฯ จักไม่ยินดีความหลับ ฯลฯ จักไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ฯลฯ จักไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ฯลฯ จักไม่คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ฯลฯ จักไม่ถึงความท้อถอยเสียในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อยเพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ กรรมสูตรที่ ๔

อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔

กรรมสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า น กมฺมารามา ความว่า ภิกษุเหล่าใดกระทำกิจกรรม มีจีวร, ประคดเอว, ผ้ากรองน้ำ, ธัมกรก, ไม้กรวด, ที่รองเท้าเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 73

เท่านั้น ประจำวัน ภิกษุเหล่านั้นก็ห้ามเสียได้ด้วยศรัทธา ส่วนภิกษุใด ในเวลากระทำกิจกรรมเหล่านั้น กระทำกิจกรรมเหล่านี้ ในเวลาอุเทศก็เรียนอุเทศ เวลากระทำวัตรที่ลานเจดีย์ก็กระทำวัตรที่ลานเจดีย์ เวลาทำมนสิการก็ทำมนสิการ ภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่ยินดีในการงาน.

ภิกษุใด กระทำการพูดคุยกันถึงผิวพรรณของหญิงและชายเป็นต้นเท่านั้น ให้ล่วงวันล่วงคืนไป ไม่จบการคุยกันเห็นปานนั้น ภิกษุนี้ ชื่อว่ายินดีในการคุย. อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมกล่าวสนทนาธรรม ตอบปัญหาทั้งกลางคืนกลางวัน ภิกษุนี้ ถึงจะเป็นคุยน้อย ก็ยังพูดจบคุยจบเหมือนกัน เพราะเหตุไร? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอประชุมกันแล้ว ก็มีกิจที่ควรกระทำ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา กล่าวธรรม หรือดุษณีภาพ นิ่งอย่างอริยะ".

ภิกษุใด ยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม ถูกถีนมิทธะครอบงำก็หลับไป ภิกษุนี้ ชื่อว่ามักหลับ. ส่วนภิกษุใด มีจิตหยั่งลงสู่ภวังค์เพราะความป่วยไข้ของกรัชกาย ภิกษุนี้ ไม่ชื่อว่าไม่มักหลับ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก่อนอัคคิเวสสนะ เราย่อมรู้ยิ่งในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตร ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น นอนตะแคงข้างขวา มีสติสัมปชัญญะหลับลง.

ภิกษุใด คลุกคลีอยู่อย่างนี้ เป็นคนที่ ๒ สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง เป็นคนที่ ๓ สำหรับภิกษุ ๒ รูป เป็นคนที่ ๔ สำหรับภิกษุ ๓ รูป

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 74

อยู่คนเดียวก็ไม่ได้อัสสาท ความยินดี ภิกษุนี้ ชื่อว่าชอบคลุกคลี ส่วนภิกษุใด อยู่ผู้เดียวเท่านั้นในอิริยาบถ ๔ ย่อมได้อัสสาทะ ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่ชอบคลุกคลี.

ภิกษุผู้ประกอบด้วยความปรารถนาความสรรเจริญคุณที่ไม่มีในตน เป็นผู้ทุศีล ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก. ภิกษุเหล่าใด มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว เพราะบริโภคร่วมกันในอิริยาบถทั้ง ๔. และภิกษุเหล่าใดเป็นเพื่อนให้ภิกษุชั่วทั้งหลาย เพราะน้อมไป โอนไป เงื้อมไปในปาปมิตรนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว.

บทว่า โอรมตฺตเกน ได้แก่ มีประมาณนิดหน่อย คือมีประมาณน้อย. บทว่า อนฺตรา ได้แก่ ในระหว่างนี้ เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า โวสานํ ได้แก่ ความจบสิ้น ความท้อถอยว่าเท่านี้ก็พอ. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุจักไม่ถึงที่สุดด้วยคุณ มีศีลปาริสุทธิ, ฌานและความเป็นพระโสดาบันเป็นต้น. อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่เสื่อมเลยเพียงนั้น.

จบ อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔