พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. เสขสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  1 พ.ย. 2564
หมายเลข  39499
อ่าน  444

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 78

ปฐมปัณณาสก์

วัชชีวรรคที่ ๓

๘. เสขสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 78

๘. เสขสูตร

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุไม่สำเหนียกในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนี้ ดังนี้ ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑ ความเป็นไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในโภชนะ ๑ กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุสำเหนียกในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนั้น ดังนี้ ไม่ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบ เสขสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 79

อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘

เสขสูตรที่ ๘ มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภิกษุเหล่าใด ย่อมนำไปซึ่งภาระเพราะช่วยทำกิจของสงฆ์ที่เกิดขึ้นแล้วให้สำเร็จ เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าผู้นำภาระ. บทว่า เต เตน ปญฺายิสฺสนฺติ ความว่า พระเถระเหล่านั้นจักปรากฏด้วยกิจที่สมควรแก่ความเป็นพระเถระของตนนั้น. บทว่า โว โยคํ อาปชฺชติ ความว่า ย่อมถึงการประกอบ คือ เริ่มทำกิจเหล่านั้นเอง ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘